วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

task1_michiannai

เนื่องจากการศึกษาของผมเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนวิชา 2223332  APP JP LING 
ภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นประยุกต์ ดังนั้นผมจึงจะนำชิ้นงานที่ได้รับมอบหมายในห้องเรียนมาลง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาเรื่อง アスペクト ในฐานะชิ้นงานของผมนะครับ

โดยชิ้นงานแรกนี้ เป็นการเขียนเพื่ออธิบายการมาอาคารบรมราชกุมารี โดยเริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้า
ช่องนนทรี ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งแรก <オリジナル> จะเป็นการเขียนโดยใช้คำศัพท์ ไวยากรณ์ที่ตัวเองนึกออกขณะที่เรียนในห้อง ส่วนครั้งหลัง <書き直し> จะเป็นการเขียนหลังจากที่ได้เห็นตัวอย่างการใช้ภาษาของคนญี่ปุ่น และนำผลงานครั้งแรกมาเีขียนปรับปรุงให้ดีขึ้น ใกล้เคียงกับตัวอย่างที่ตนคิดว่าได้

งั้นลองมาดูกันนะครับว่า before&after ของผมจะต่างกันมากน้อยแค่ไหน =)
v
v
v
v


<オリジナル>
チュラ大文学部BRKビルへの行き方
 BTSチョンノンシー駅に入ってから、「To National Stadium」というホームに行って、電車に乗って、BTSサイヤム駅で降りてください。それから、5番の出口を出て、歩道をまっすぐ歩いて歩道橋に着くと、階段を駆け下りてください。そうすると、バイクタクシーを呼んで、「アックソーン・チュラー」と行き先を言ってください。行き先に着いたら、食堂が見えます。そして、その辺の人に「ボーロム」と言ってください。そのビルは白くて、前に階段があって、「True Coffee」という店があるビルのそばにあるビルです。


<書き直し>
チュラーロンコーン大学文学部BRKビルへの行き方
BTSチョンノンシー駅からチュラーロンコーン大学文学部BRKビルまでの道のりを説明します。手段は、BTSスカイトレインと徒歩です。
まず、チョンノンシー駅から「ナショナルスタディアム」行きの電車に乗ります。チョンノンシー、サーラーデェーン、ラーッシャダムリ、サイヤム駅の順に各駅に停まるので、三つ目のサイヤム駅で下車してください。
次に、サイヤム駅の56番の改札口を出ます。出てから、すぐに「Karmart」というピンクの店が見えます。そこから右手に進んでいくと、まもなく階段が見えるので、下っていきます。下ってから、セブンイレブンが見えて、そのまま直進します。途中右手にサイヤムキットビル、歯科学部、獣医学部、トゥリアムウドムスックサー高校、サーティットパテゥムワン学校があります。

サーティットパテゥムワン学校を過ぎて少し歩くと門が見えて、入ります。入ると、右手に食堂がありますので、それに沿って歩いて下さい。食堂のそばにある建物はMCSビルです。MCSビルを通って、ようやく文学部のBRKビルが見えるのです。

เป็นยังไงบ้างครับ เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการในการเขียนของผมมั้ยครับ? ฮ่าๆๆ

โดยส่วนตัวของผมเอง ความรู้สึกที่มีต่อชิ้นงานนี้ มีดังต่อไปนี้ครับ
สำหรับ <オリジナル> 
- พบการใช้รูป ~てください ในการบอกให้ผู้อ่านทำสิ่งต่างๆ 
- มีการใช้คำสันธานบอกลำดับขั้นตอน เช่น それから、そうすると、そして ทำให้ผู้อ่านทราบ
  ถึงการเปลี่ยนผ่านของการกระทำว่าต้องทำอะไรก่อน-หลัง
- พบการใช้สถานที่หรือจุดสังเกตเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันความถูกต้องยังน้อยอยู่ มีแค่ตรงที่บอกว่า
 「True Coffee」という店があるビル ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด
  เดินไปผิด
ทางได้ กล่าวคือ ยังอธิบายไม่ชัดเจน ไม่เห็นภาพนั่นเอง
- เป็นการบอกวิธีการเดินทางที่ไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากให้ผู้อ่านถามทางคนอื่น ซึ่งเป็นปัจจัย
  ภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ เพราะผู้อ่านซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นอาจจะสื่อสารกับคนไทยไม่เข้าใจ
- โดยภาพรวมคือ ยังทำได้ไม่ดี

ส่วน <書き直し>
- พบการใช้รูป ます ร่วมกับการใช้ ~てください ทำให้เวลาอ่านไม่น่าเบื่อ ไม่ได้มีรูปแบบ
  การเขียนเดียว
- มีการใช้คำสันธานบอกลำดับขั้นตอน まず、次に、ようやくช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจลำดับ
  การกระทำว่าต้องทำอะไรก่อน-หลัง
- มีการให้รายละเอียดที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งข้อมูลและภาพ มีการใช้ใช้สถานที่หรือจุดสังเกตเป็น
  สิ่งที่ช่วยยืนยันความถูกต้องคอยกำกับ ป้องกันไม่ให้ผู้อ่านหลงทาง
- โดยภาพรวม ถือว่าดีขึ้นกว่าอันแรกมาก มีพัฒนาการขึ้น เห็นภาพ เข้าใจง่าย อันเกิดจากการ
  เลียนแบบการเขียนจากเจ้าของภาษานั่นเอง

ในแง่ของการศึกษา アスペクトเนื่องจากงานชิ้นนี้เป็นการเขียนวิธีการ บอกให้ทำ ซึ่งมีเพียงแค่การใช้ ~てください และรูป ます จึงยังไม่มีปัญหาหรือจุดที่น่าสังเกตเกี่ยวกับ アスペクト 
แต่อย่างน้อยงานที่ได้มอบหมายครั้งนี้ ก็ทำให้ผมได้สังเกต เปรียบเทียบ การเขียนของตนเองและเจ้าของภาษา อีกทั้งยังได้ฝึกฝน และพัฒนาการเขียนของตนเองเพิ่มขึ้นครับ 

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

หัวข้อที่สนใจศึกษา

สำหรับหัวข้อทางภาษาญี่ปุ่นที่ผมสนใจศึกษา นั่นก็คือ ทะแด่มแทมแท้ม...
เรื่อง アスペクト ในการเขียน นั่นเองครับ

บางคนอาจจะสงสัยว่า アスペクト คืออัลไล โดยส่วนตัวผมเองก็ยังไม่ค่อยเข้าใจคำนี้สักเท่าไหร่เช่นกัน
แต่เท่าที่ผมเข้าใจก็คือ การกระทำหนึ่งๆ (กริยา) จะเปลี่ยนหรือผันรูปตามกาล (テンス)อันได้แก่ รูปอดีัต (過去形)  และรูปไม่ใช่อดีต (非過去形) ซึ่งรวมทั้งรูปปัจจุบันและรูปอนาคต ส่วน アスペクト เป็นมุมมองที่มีต่อลักษณะของกริยานั้นว่า เกิดขึ้น ดำเนินอยู่ หรือจบไปแล้ว เป็นต้น จึงเข้าใจได้ว่า アスペクト เป็นส่วนที่ขยายกาล แ่ต่ถ้าหากความเข้าใจของผมผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะึีัครับ แล้วจะไปค้นคว้ามาเพิ่มเติมครับ

ส่วนสาเหตุที่ผมศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็เนื่องจาก アスペクト เป็นส่วนที่ขยายกาล จึงไม่สามารถใช้เพียงเวลาเป็นเกณฑ์ตัดสินว่า ถ้าเกิดในอดีตก็ใช้รูป タ ถ้ายังไม่เกิดก็ใช้รูป ル ได้ แต่มันขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้พูดที่มีต่อกริยานั้นๆ ว่าเป็นการกระทำที่เพิ่งเกิด ดำเนินอยู่ จบไปแล้ว เพิ่งเปลี่ยนแปลงมา หรือกำลังจะเปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น ซึ่งมุมมองดังกล่าวเป็นสิ่งที่บางครั้งไม่มีในภาษาไทย หรือบางครั้งคนไทยก็มีมุมมองที่ไม่ตรงกับคนญี่ปุ่น จึงทำให้ใช้ผิด เขียนผิดอยู่บ่อยครั้ง
ดังนั้นผมจึงอยากจะศึกษาเรื่องนี้ เพื่อดูความถี่ในการใช้ アスペクト ต่างๆ ของคนญี่ปุ่น และพยายามสรุปหาหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้ アスペクト ประเภทต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้ที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นท่านอื่นๆ ด้วย

วิธีการที่ผมคาดว่าจะใช้ในการศึกษาเรื่อง アスペクト ได้แก่
1. สังเกตการเลือกใช้ アスペクト ในงานเขียนของตนเอง ดูว่ากรณีใดที่เลือกใช้ アスペクト ไม่ถูก หรือสับสน
2. หาบทความหรืองานเขียนของคนญี่ปุ่นที่มีการใช้ アスペクト ที่ถูกต้องมาศึกษา
3. จัดประเภท アスペクト ที่พบในงานเขียนของคนญี่ปุ่น
4. เปรียบเทียบกับการใช้ アスペクト ของตนเองว่ามีความเหมือนหรือต่างกับเจ้าของภาษา
5. แก้ไขในส่วนที่คิดว่าใช้ผิด และเฝ้าสังเกตพัฒนาการเขียนของตน

จากวิธีการดังกล่าว เครื่องมือที่ผมจะใช้ก็คือ งานเขียนของผม และงานเขียนของคนญี่ปุ่น (เจ้าของภาษษา) โดยที่ผมจะโพสต์งานเขียนดังกล่าวลงในบล็อกนี้เรื่อยๆ นะครับ นอกจากนี้ อาจมีการใช้หนังสือไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น และหนังสือภาษาศาสตร์ที่มีการอธิบายเรื่อง アスペクト ประกอบในฐานะหนังสืออ้างอิง เพื่อใช้สนับสนุนความคิดและการศึกษาของผม

ดังนั้นเป้าหมายของผม(目標)ก็คือ ผมสามารถจัดประเภทและเลือกใช้ アスペクト ได้อย่างถูกต้อง ใกล้เีคียงกับเจ้าของภาษา

แม้งานศึกษาชิ้นนี้จะไม่ใช่หัวข้อที่ยิ่งใหญ่ หรือแปลกใหม่สำหรับวงการภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่น แต่ผมก็หวังว่า ผลการศึกษาครั้งนี้จะช่วยพัฒนาศักยภาพในการใช้ภาษาญี่ปุ่นของผม และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นครับ

เป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ 頑張りまーす

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แนะนำตัวกันซักหน่อยนะฮ้าฟ

สวัสดีครับ ผม "คาม" นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะอักษรศาสตร์
สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


สำหรับบล็อกนี้ ก็ถือว่าเป็นบล็อกแรกในชีวิตของผมเลย
จุดประสงค์ในการสร้างบล็อกนี้ขึ้นมา ก็เพื่อจดบันทึกข้อสงสัย หรือความรู้ใหม่เกี่ยวกับหัวข้อทางภาษาญี่ปุ่นที่ผมสนใจ ตลอดจนเรื่องที่ผมประทับใจ และความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ในชั่วขณะต่างๆ
อันเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนวิชา 2223332  APP JP LING ภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นประยุกต์ครับ

หวังว่าบล็อกนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เข้ามาอ่าน และเป็นที่ที่ไว้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันนะครับ

กรุณาแสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพด้วยนะครับ =)

ฝากตัวด้วยครับป๋ม ^0^