สำหรับหัวข้อทางภาษาญี่ปุ่นที่ผมสนใจศึกษา นั่นก็คือ ทะแด่มแทมแท้ม...
เรื่อง アスペクト ในการเขียน นั่นเองครับ
บางคนอาจจะสงสัยว่า アスペクト คืออัลไล โดยส่วนตัวผมเองก็ยังไม่ค่อยเข้าใจคำนี้สักเท่าไหร่เช่นกัน
แต่เท่าที่ผมเข้าใจก็คือ การกระทำหนึ่งๆ (กริยา) จะเปลี่ยนหรือผันรูปตามกาล (テンス)อันได้แก่ รูปอดีัต (過去形) และรูปไม่ใช่อดีต (非過去形) ซึ่งรวมทั้งรูปปัจจุบันและรูปอนาคต ส่วน アスペクト เป็นมุมมองที่มีต่อลักษณะของกริยานั้นว่า เกิดขึ้น ดำเนินอยู่ หรือจบไปแล้ว เป็นต้น จึงเข้าใจได้ว่า アスペクト เป็นส่วนที่ขยายกาล แ่ต่ถ้าหากความเข้าใจของผมผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะึีัครับ แล้วจะไปค้นคว้ามาเพิ่มเติมครับ
ส่วนสาเหตุที่ผมศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็เนื่องจาก アスペクト เป็นส่วนที่ขยายกาล จึงไม่สามารถใช้เพียงเวลาเป็นเกณฑ์ตัดสินว่า ถ้าเกิดในอดีตก็ใช้รูป タ ถ้ายังไม่เกิดก็ใช้รูป ル ได้ แต่มันขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้พูดที่มีต่อกริยานั้นๆ ว่าเป็นการกระทำที่เพิ่งเกิด ดำเนินอยู่ จบไปแล้ว เพิ่งเปลี่ยนแปลงมา หรือกำลังจะเปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น ซึ่งมุมมองดังกล่าวเป็นสิ่งที่บางครั้งไม่มีในภาษาไทย หรือบางครั้งคนไทยก็มีมุมมองที่ไม่ตรงกับคนญี่ปุ่น จึงทำให้ใช้ผิด เขียนผิดอยู่บ่อยครั้ง
ดังนั้นผมจึงอยากจะศึกษาเรื่องนี้ เพื่อดูความถี่ในการใช้ アスペクト ต่างๆ ของคนญี่ปุ่น และพยายามสรุปหาหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้ アスペクト ประเภทต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้ที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นท่านอื่นๆ ด้วย
วิธีการที่ผมคาดว่าจะใช้ในการศึกษาเรื่อง アスペクト ได้แก่
1. สังเกตการเลือกใช้ アスペクト ในงานเขียนของตนเอง ดูว่ากรณีใดที่เลือกใช้ アスペクト ไม่ถูก หรือสับสน
2. หาบทความหรืองานเขียนของคนญี่ปุ่นที่มีการใช้ アスペクト ที่ถูกต้องมาศึกษา
3. จัดประเภท アスペクト ที่พบในงานเขียนของคนญี่ปุ่น
4. เปรียบเทียบกับการใช้ アスペクト ของตนเองว่ามีความเหมือนหรือต่างกับเจ้าของภาษา
5. แก้ไขในส่วนที่คิดว่าใช้ผิด และเฝ้าสังเกตพัฒนาการเขียนของตน
จากวิธีการดังกล่าว เครื่องมือที่ผมจะใช้ก็คือ งานเขียนของผม และงานเขียนของคนญี่ปุ่น (เจ้าของภาษษา) โดยที่ผมจะโพสต์งานเขียนดังกล่าวลงในบล็อกนี้เรื่อยๆ นะครับ นอกจากนี้ อาจมีการใช้หนังสือไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น และหนังสือภาษาศาสตร์ที่มีการอธิบายเรื่อง アスペクト ประกอบในฐานะหนังสืออ้างอิง เพื่อใช้สนับสนุนความคิดและการศึกษาของผม
ดังนั้นเป้าหมายของผม(目標)ก็คือ ผมสามารถจัดประเภทและเลือกใช้ アスペクト ได้อย่างถูกต้อง ใกล้เีคียงกับเจ้าของภาษา
ี
แม้งานศึกษาชิ้นนี้จะไม่ใช่หัวข้อที่ยิ่งใหญ่ หรือแปลกใหม่สำหรับวงการภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่น แต่ผมก็หวังว่า ผลการศึกษาครั้งนี้จะช่วยพัฒนาศักยภาพในการใช้ภาษาญี่ปุ่นของผม และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นครับ
เป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ 頑張りまーす
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น