วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

task2_gaikokujin

 ห่างหายจากการอัพบล็อกมานานพอสมควรเลย เนื่องจากประสบมรสุมการบ้าน รายงาน พรีเซ้นท์ สอบมิดเทอม บลาบลาบลา
 แต่วันนี้ผมมาพร้อมกับ task ชิ้นที่ 2 ซึ่งเป็น task ที่เกิดจากการพูดบรรยายภาพที่เรียกว่า 目に浮かぶ描写 ซึ่งเป็นการบรรยายภาพเพื่อให้ผู้ฟังจินตนาการเห็นภาพที่เล่าอย่างชัดเจน ราวกับภาพนั้นปรากฏแก่สายตาผู้ฟัง
  โดยรูปที่ให้บรรยาย เป็นรูปของผู้ชายสองคนที่นั่งอยู่บนโซฟาในสถานที่ที่เหมือนล็อบบี้ของโรงแรม ชายคนหนึ่งกางหนังสือพิมพ์อ่านอยู่ ส่วนอีกคนนั่งเฉยๆ อีกด้านหนึ่งมีชายที่ดูท่าทางเหมือนนักท่องเที่ยวต่างชาติกำลังกางแผนที่หาทางอยู่ ชายที่นั่งเฉยๆและนักท่องเที่ยวสบตากัน นักท่องเที่ยวเดินเข้ามาหาชายคนนั้นเหมือนจะมาถามทาง แต่ชายคนนั้นกลัวที่จะต้องคุยกับนักท่องเที่ยว เลยเขยิบเข้าไปหลบในหนังสือพิมพ์ที่ชายอีกคนอ่านอยู่ นักท่องเีที่ยวเห็นดังนั้นเลยอารมณ์เสีย
 โดยส่วนตัวผมเป็นคนที่มีทักษะการพูดไม่ค่อยดี จึงทำ task นี้ได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่เหมือนครั้งที่แล้วครับ คือพอทำในคาบเรียนเสร็จ ก็จะได้ตัวอย่างการใช้ภาษาของคนญี่ปุ่น หลังจากนั้นก็นำคำอธิบายที่เคยพูดไว้ มาปรับภาษาใหม่ในรูปแบบของตัวเองให้ดีขึ้น ดังต่อไปนี้ครับ

<オリジナル>
 ある日、僕はホテルに行きました。そのホテルのロビーでは、二人の男の人がソファに座っていました。一人は地図を読んでいる外国人と見合いました。その外国人は道に迷っているようだったから、その男の人に道を聞こうとしました。でも、その男の人は外国人と話したくなかったから、もう一人の男の人と新聞を読んでいると見せかけました。そこで、外国人は怒りました。
 - ผมสร้างสถานการณ์ให้ตัวเองเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ คืออยู่ในสถานที่นั้นด้วย เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกร่วมกับผม
 - ผมใช้ 過去形ในการเล่า เพราะคิดว่าเป็นการเล่าเรื่อง เล่าเหตุการณ์ที่ประสบพบเจอมา เลยใ้ช้รูปอดีต
 - จุดแรกที่มีปัญหาในการใช้คำ คือคำว่า "สบตากัน" ซึ่งผมลองใช้คำว่า 見合う (มองกันและกัน)
 - จุดที่สองที่มีปัญหาก็คือ วลีที่ว่า "หลบเข้าไปข้างหลัง (หนังสือพิมพ์ที่ชายอีกคนอ่านอยู่)" ผมเลยแปลงเนื้อความเป็นว่า もう一人の男の人と新聞を読んでいると見せかけました。(เขาทำทีเป็นอ่านหนังสือพิมพ์กับชายอีกคน)
 - จุดสุดท้ายเป็นจุดที่อาจารย์แก้กลับมาให้ คือคำว่า そこで ในประโยคสุดท้าย ในความคิดผมคำว่า そこで มีความหมายว่า ดังนั้น ซึ่งเป็นการบอกความต่อเนื่องของเหตุการณ์สองเหตุการณ์ ที่เหตุการณ์ข้างหน้าเป็นเหตุให้เกิดเหตุการณ์ข้างหลัง ในที่นี้ก็คือ เหตุการณ์ข้างหน้าคือ ชายคนนั้นทำเป็นอ่านหนังสือพิมพ์กับชายอีกคน จึงเป็นเหตุให้นักท่องเที่ยวโกรธ แต่อาจารย์ก็ได้อธิบายให้ผมฟังว่า そこで ใช้ในการเชื่อมประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลจริง แต่เหตุการณ์สองเหตุการณ์ข้างต้นก็ไม่ได้มีความเป็นเหตุเป็นผลกันขนาดนั้น แล้วก็ そこで มักจะใช้เริ่มประโยคที่เป็นผลที่มีใจความสำคัญไปต่อ ไม่ใช่ประโยคจบแบบนี้

 และเมื่อได้ดูตัวอย่างการใช้ภาษาของคนญี่ปุ่นในการอธิบายภาพเดียวกันหลายๆตัวอย่างแล้ว ผมก็ได้เลือกใช้คำที่คิดว่าดี อธิบายภาพได้ชัดเจนขึ้น และเขียนแก้ไขใหม่ดังนี้

<書き直し>
 ペエスケはホテルに来ており、ロビーにあるソファーに座っていました。同じソファーには新聞を読んでいるおじさんも座っていました。ペエスケはぼーっとあたりを見回していると、ふと、地図を手に持った外国人のおじさんと目が合ってしまいました。どうやら道を探している旅行者らしかったです。外国人が道を聞こうとペエスケに歩み寄ってきました。面倒が起こる前に逃げたかったから、ペエスケは隣に座っているおじさんが読んでいる新聞のかげに隠れてしまったのです。おじさんもびっくりしました。その外国人は腹が立っていました。
 - ในครั้งนี้ผมไม่ได้สมมติให้ตัวเองอยู่ในเหตุการณ์เหมือนครั้งแรก และก็เรียกชื่อตัวละครหลักที่เป็นชายที่หลบด้านหลังหนังสือพิมพ์ว่า  ペエスケ ตามที่คนเขียนตั้งไว้
 - ผมใช้ 過去形ในการเล่าเหมือนเดิม เพราะคิดว่าเป็นการเล่าเรื่อง เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ผ่านมาแล้ว เลยใ้ช้รูปอดีต
 - จุดที่เคยมีปัญหาในการใช้คำว่า "สบตากัน" ก็เปลี่ยนใหม่เป็นคำว่า 目が合う ตามที่คนญี่ปุ่นใช้กัน และได้บรรยายเพิ่มเติมว่า ในตอนแรก ペエスケ มองไปรอบๆ (ペエスケはぼーっとあたりを見回している) และก็บังเอิญไปสบตากับนักท่องเที่ยว โดยใช้คำว่า ふと...てしまいました。เพื่อให้การกระทำนั้นดูเป็นเหตุบังเอิญ ผู้กระทำไม่ได้ตั้งใจทำเองมากยิ่งขึ้น
 - เพิ่มคำว่า どうやら เพิ่มเข้าไป เพื่อให้คู่กับ らしい ในประโยคที่ว่า どうやら道を探している旅行者らしかったです。เนื่องจากอาจารย์ได้แนะนำมาว่าควรเพิ่มคำที่ทำให้ผู้อ่าน/ผู้ฟังเดาเรื่องหรือข้อความที่จะตามมาได้ ซึ่งคำว่า どうやら ก็มักจะใช้คู่กับ らしい ที่แปลว่า ดูเหมือนว่า...
 - เพิ่มคำกริยา 歩み寄る (เดินเข้าใกล้) ที่จะทำให้ผู้อ่านเห็นภาพ เห็นการเคลื่อนไหวของนักท่องเที่ยวมากกว่าการใช้ 道を聞こうとする ที่ใช้ในการอธิบายครั้งแรก
 - จุดที่มีปัญหากับวลีที่ว่า "หลบเข้าไปข้างหลัง (หนังสือพิมพ์ที่ชายอีกคนอ่านอยู่)" ก็แก้ไขเป็น 隣に座っているおじさんが読んでいる新聞のかげに隠れる ซึ่งทำให้เห็นภาพได้ชัดและตรงกว่าที่อธิบายในครั้งแรก
 - จุดสุดท้ายที่เคยใช้ そこで แล้วผิด เปลี่ยนเป็นการขึ้นประโยคใหม่แืทน

 จาก task ชิ้นนี้ สำหรับเรื่อง アスペクト ซึ่งเป็นหัวข้อหลักที่ผมสนใจศึกษา พบว่า
 1) การใช้รูป ~ていました ซึ่งเป็นการบอกสภาพในอดีต เช่น ソファーに座っていました、腹が立っていました ซึ่งเกิดจากผันกริยาที่ปกติมักจะอยู่ในรูป ~ている อยู่แล้วให้เป็นอดีต
 2) การใช้คำกริยาในวลีขยายคำนามหลัก เช่น 新聞を読んでいるおじさん、 地図を手に持った外国人、道を探している旅行者 จากคำข้างต้น ทำให้ผมเกิดข้อสงสัยในขั้นแรกว่า ทำไมกริยาบางตัวเป็น Vている บางตัวเป็น Vた และเมื่อพิจารณาดีๆแล้วจะพบว่า กรณีที่ใช้ Vている จะใช้บอกสภาพที่กำลังกระทำอยู่ ณ ขณะนั้น ส่วน 持った ที่ใช้ Vた เพราะโดยปกติ 持つ เมื่ออยู่ในรูป ている → 持っている จะมีความหมายว่า "มี" ดังนั้นถ้า้ใช้เป็น 持っている ก็จะแปลว่า นักท่องเที่ยวที่มีแผนที่ในมือ แต่ในที่นี้ต้องการสื่อว่า นักท่องเที่ยวที่ถือแผนที่ไว้ในมือ จึงใช้เป็นรูป た
 3) การใช้ ~てくる ใน ペエスケに歩み寄ってきました เพื่อแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ว่า มาหาตัวペエスケ
 ส่วนอื่นๆที่ได้จากการทำ task นี้ก็คือ คำศัพท์และสำนวนที่ใช้ร่วมกันตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น และเช่นเคยก็คือการที่ได้ดูการใ้ช้ภาษาของเจ้าของภาษาเปรียบเทียบ ทำให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบการใช้ภาษาที่ถูกต้อง และทำให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการในการใช้ภาษาที่ดีขึ้น และใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากยิ่งขึ้น
 สุดท้ายนี้ก็อยากจะฝากให้ผู้อ่านคอยติดตามบล็อกของผมด้วยนะครับ ถึงแม้ว่าอาจจะมาอัพไม่ค่อยต่อเนื่อง แต่ก็ตั้งใจเขียนทุกครั้งเลยนะครับ แล้วเจอกันใหม่ในบทความหน้านะครับ สวัสดีครับผม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น