สำหรับ task นี้ ให้พูดเล่าเรื่องจากภาพให้สนุก น่าสนใจ โดยมีทั้งหมดด้วยกัน 2 เรื่อง และเหมือนครั้งก่อนๆคือ หลังจากทำเสร็จแล้ว ก็ให้ตัวอย่างการใช้ภาษาของคนญี่ปุ่นมาให้ดูเปรียบเีทียบ แต่ครั้งนี้ไม่ได้ให้เขียนแก้ไขกลับไป
โดยเืรื่องแรกเป็นเรื่องของผู้หญิงคนหนึ่งที่มีหน้าตาสวยเนื่องจากทำศัลยกรรมมา เธอได้แฟนที่ดีเลิศ อยู่มาวันหนึ่ง แฟนของเธอเห็นรูปเธอตอนที่ยังไม่ทำศัลยกรรม เธอกังวลมากกลัวว่าเขาจะเลิกกับเธอ แต่เขากลับพูดว่าไม่ต้องกังวลไป พร้อมกับถอดวิกออก ที่แท้เขาเองไม่ได้เพรียบพร้อม เขาหัวล้านนั่นเอง
ส่วนเรื่องที่สองเป็นเรื่องของคนที่ตกเครื่องบิน เมื่อเขากลับมาที่พัก ก็มีข่่าวในทีวีว่า เครื่องบินลำนั้นเกิดอุบัติเหตุตก
ผมเล่าเรื่องทั้งสองไว้ดังนี้ครับ
เืรื่องแรก
私は整形美人です。そのお陰で優しくて素敵な彼氏ができました。でも、ある日、彼氏に昔の写真を見られました。すごく恥ずかしかったです。なんと彼は「そんなこと気にしなくていいのに」って言いました。事実を教えて、彼は髪の毛もありません。意外と驚きました。
ความคิดเห็นต่อการเล่าเรื่องของตนเอง
- ผมสมมติตัวเองเป็นผู้หญิงในเรื่อง เพื่อความง่ายในการเล่าเรื่อง
- ผมนึกประโยคว่า "กลัวว่าจะถูกบอกเลิก" ไม่ออก เลยเปลี่ยนไปใช้ว่า すごく恥ずかしかったです。(อายมาก) แทน
- ใช้คำว่า なんと ด้านหน้าประโยค 彼は「そんなこと...」って言いました。เพื่อแสดงความประหลาดใจ
- ตามรูป จะเป็นรูปแฟนหนุ่มหยิบวิกออก เพื่อแสดงให้เห็นว่าที่จริงแล้วเขาหัวล้าน แต่ผมคิดคำไม่ออกเลยใช้ว่า "(เขา)บอก (ความจริง/ความลับ) ว่าเขาไม่มีผม" แต่ตอนที่พูดแปลไปตามรูปประโยคภาษาไทยเลยเป็น 事実を教えて、彼は髪の毛もありません。จึงควรแก้เป็น 彼は髪の毛がないという(事実・秘密)を教えて、...
ความคิดเห็นต่อการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่น
มี 2 ตัวอย่าง
ตัวอย่างแรกเขียนโดยผู้หญิง
- เขียนถึงผู้หญิงที่ศัลยกรรมในฐานะเพื่อนของตัวเอง
- เขียนนำเรื่องว่า すごい面白いのよ。เพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเรื่องนี้ต้องน่าสนุก น่าสนใจแน่ๆ
- มีการใช้ ~ていた ในประโยคที่ว่า 昔の写真を見られないように気をつけていたんだけど、... เพื่อแสดงถึงการกระทำที่ทำสม่ำเสมอในอดีต แต่ปัจจุบันไม่แล้ว เพราะในที่สุดเธอก็ลืมเก็บรูป แฟนของเธอจึงเห็นรูปนั้นจนได้
- มีการใช้คำ 油断 (สะเำพร่า ไม่รอบคอบ พลั้งเผลอ) ซึ่งแสดงการกระทำของผู้หญิงคนนั้นได้ดี ว่าไม่ได้ตั้งใจ
- ใช้กริยา 別ける →「...もう別けられる、怒られて別れるしかないと思ったんだけど、...」เพื่อแสดงความกลัวว่าจะถูกเลิก
- ใช้ประโยคคำถาม เช่น 何...と思う?、どうしてか分かる?เพื่อให้ผู้ฟังต้องคิดตาม และทำให้เรื่องดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
- บรรยายภาพที่แฟนหนุ่มหยิบวิกออกมาจากศีรษะว่า 自分の髪の毛に手を持っていって、つるって、髪の毛を取ったのよ。
- มีการใช้ ~ていく ในประโยคที่ว่า 自分の髪の毛に手を持っていって、... เพื่อแสดงถึงทิศทางของการกระทำที่ออกไป ในที่นี้คือ หยิบผมออกจากศีรษะ
- ใช้คำที่ทำให้เห็นภาพ เช่น つるつるびかびか (แวววาว) เพื่อบรรยายศีรษะที่ล้านของแฟนหนุ่ม
- ใช้คำว่า 似たもの同士 (ของที่เหมือนกัน) เพื่อสื่อถึงคู่รักคู่นี้ ที่คนหนึ่งศัลยกรรม อีกคนหนึ่งหัวล้านใส่วิก
ตัวอย่างที่สองเขียนโดยผู้ชาย
- เขียนถึงผู้หญิงที่ศัลยกรรมในฐานะคนรู้จัก โดยตั้งชื่อให้ว่า 明美ちゃん
- มีการใช้คำ ばれる ( (ความลับ) ลั่วไหล) ในข้อความที่ว่า 整形したことがばれちゃったんだよね。ทำให้เห็นชัดว่า เรื่องที่เธอศัลยกรรมมา เป็นความลับที่เธอปิดบังมาโดยตลอด แต่ก็ถูกล่วงรู้ในที่สุด
- ใช้ประโยคคำถาม「なんだろう」と思ったら、...เพื่อให้ผู้ฟังคิดตาม และทำให้เรื่องดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
- ใช้คำว่า なんと ด้านหน้าประโยค 髪の毛をとっちゃったんだよ。เพื่อแสดงความประหลาดใจ
- ใช้คำว่า どっちもどっち (ห่วยทั้งคู่) เพื่อสื่อถึงคู่รักคู่นี้ ที่คนหนึ่งศัลยกรรม อีกคนหนึ่งหัวล้านใส่วิก
จากการสังเกตตัวอย่างทั้งสองข้างต้นแล้ว ทำให้เห็นถึงความต่างของการใช้ภาษาผู้หญิงและผู้ชาย คือ ฝ่ายผู้หญิงจะปรากฏ のよ อยู่บ่อยๆ ส่วนฝ่ายผู้ชายจะปรากฏ んだよね บ่อย เทคนิคที่ใช้เพื่อให้ผู้ฟังคิดตามและทำให้เรื่องน่าสนใจยิ่งขึ้นคือการใช้ประโยคคำถาม และการใช้คำที่ทำให้เห็นภาพ
ในส่วนที่น่าสนใจสำหรับ アスペクト ก็คือ เรื่องการใช้ ていた และ ていく ตามที่ได้กล่าวไปแล้วในตัวอย่างข้างต้น
เรื่องที่สอง
今朝、私は空港へ行きました。でも、遅くて、飛行機に乗れませんでした。そこで、家へ帰りました。今晩、テレビを見ました。ニュースでは、その飛行機は落ちてしまいました。その飛行機に乗れなかったから、良かったと思います。
ความคิดเห็นต่อการเล่าเรื่องของตนเอง
- ผมสมมติตัวเองเป็นเจ้าของเรื่อง เพื่อความง่ายในการเล่าเรื่อง
- 遅くて ควรแก้เป็น 遅くなってしまって เนื่องจาก 遅くて จะแปลว่า มาสาย ส่วน 遅くなってしまって จะทำให้รู้สึกว่า เป็นความไม่ตั้งใจที่ไปสาย มากกว่า
- เพราะไม่รู้ว่าจะใช้คำว่าเครื่องบินตกว่าอย่างไร เลยใช้ 落ちる
- ใช้ その飛行機に乗れなかったから、良かったと思います。เพื่อแสดงถึงความโชคดีที่ไม่ได้ขึ้นเครื่องบินลำนั้น
ความคิดเห็นต่อการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่น
มี 2 ตัวอย่าง
ตัวอย่างแรก ผู้เขียนสมมติว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับคนที่ชื่อ 明美
- ใช้ 乗り遅れる (ตกรถ ตกเครื่องบิน)
- ใช้ 墜落する (การตกจากที่สูง) ในการบรรยายการตกของเครื่องบิน แทน 落ちる
- ใช้ 「乗らなくてよかった」บรรยายถึงความโชคดีที่ไม่ได้ขึ้นเครื่องบินลำนั้น นอกจากนี้ยังมีการสมมติที่ตรงข้ามกับอดีตว่า「あの飛行機に乗っていたら、死んでいただろう」 (ถ้าขึ้นเครื่องบินลำนั้น ก็คงจะตายไปแล้ว) โดยใช้รูป ~ていたら、~ていた
ตัวอย่างที่สอง ผู้เขียนสมมติว่าตัวเองเป็นเจ้าของเรื่อง และเป็นการพูดคุยโต้ตอบกับอีกคน
- ใช้ 乗り遅れる (ตกรถ ตกเครื่องบิน)
- ใช้ 飛行機の事故 (อุบัติเหตุเครื่องบิน) แทนเหตุการณ์เครื่องบินตก
- ใช้ 「乗れなくてよかった」บรรยายถึงความโชคดีที่ไม่ได้ขึ้นเครื่องบินลำนั้น นอกจากนี้ยังมีการสมมติที่ตรงข้ามกับอดีตว่า「乗っていたら、死んでいたと思います。」
แม้วิธีการนำเสนอจะต่างกัน ตรงที่คนแรกเล่าเหตุการณ์คนเดียว คนที่สองพูดคุยกับอีกคน แต่ก็มีการใช้คำหรือรูปประโยคในการเล่าเรื่องคล้ายๆกัน เช่น การใช้คำ 乗り遅れる เหมือนกัน เพื่อเล่าว่า ตกเครื่องบิน
นอกจากนี้ ในด้านของ アスペクト ที่เป็นหัวข้อหลักในการศึกษาของผม พบว่ามีการใช้รูปประโยคที่สมมติตรงข้ามกับอดีต โดยใช้รูป~ていたら、~ていた อันเป็นความรู้ใหม่
โดยสรุป task นี้ืำทำให้รู้จักเทคนิคการเล่าเรื่องให้สนุก น่าสนใจ ทั้งการตั้งคำถาม และการใช้คำที่ทำให้ผู้ฟังเห็นภาพชัดเจน ซึ่งทำให้ได้คำศัพท์และรูปประโยคใหม่ๆ โดยเฉพาะการสมมติที่ตรงข้ามกับอดีต
ในขณะนี้ที่ผมกำลังอัพบทความนี้ คือคืนวันที่ 31 ธันวาคม ซึ่งเป็นคืนสิ้นปี ดังนั้นบทความนี้จะเป็นบทความสุดท้ายที่ผมจะอัพในปีนี้ ยังไงก็อย่าลืมติดตามกันต่อไปนะครับ พบกันใหม่ปีหน้า ขอให้ทุกคนมีความสุขมากๆในปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนะครับ สวัสดีปีใหม่ครับผม =)
วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556
task2_gaikokujin
ห่างหายจากการอัพบล็อกมานานพอสมควรเลย เนื่องจากประสบมรสุมการบ้าน รายงาน พรีเซ้นท์ สอบมิดเทอม บลาบลาบลา
แต่วันนี้ผมมาพร้อมกับ task ชิ้นที่ 2 ซึ่งเป็น task ที่เกิดจากการพูดบรรยายภาพที่เรียกว่า 目に浮かぶ描写 ซึ่งเป็นการบรรยายภาพเพื่อให้ผู้ฟังจินตนาการเห็นภาพที่เล่าอย่างชัดเจน ราวกับภาพนั้นปรากฏแก่สายตาผู้ฟัง
โดยรูปที่ให้บรรยาย เป็นรูปของผู้ชายสองคนที่นั่งอยู่บนโซฟาในสถานที่ที่เหมือนล็อบบี้ของโรงแรม ชายคนหนึ่งกางหนังสือพิมพ์อ่านอยู่ ส่วนอีกคนนั่งเฉยๆ อีกด้านหนึ่งมีชายที่ดูท่าทางเหมือนนักท่องเที่ยวต่างชาติกำลังกางแผนที่หาทางอยู่ ชายที่นั่งเฉยๆและนักท่องเที่ยวสบตากัน นักท่องเที่ยวเดินเข้ามาหาชายคนนั้นเหมือนจะมาถามทาง แต่ชายคนนั้นกลัวที่จะต้องคุยกับนักท่องเที่ยว เลยเขยิบเข้าไปหลบในหนังสือพิมพ์ที่ชายอีกคนอ่านอยู่ นักท่องเีที่ยวเห็นดังนั้นเลยอารมณ์เสีย
โดยส่วนตัวผมเป็นคนที่มีทักษะการพูดไม่ค่อยดี จึงทำ task นี้ได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่เหมือนครั้งที่แล้วครับ คือพอทำในคาบเรียนเสร็จ ก็จะได้ตัวอย่างการใช้ภาษาของคนญี่ปุ่น หลังจากนั้นก็นำคำอธิบายที่เคยพูดไว้ มาปรับภาษาใหม่ในรูปแบบของตัวเองให้ดีขึ้น ดังต่อไปนี้ครับ
<オリジナル>
ある日、僕はホテルに行きました。そのホテルのロビーでは、二人の男の人がソファに座っていました。一人は地図を読んでいる外国人と見合いました。その外国人は道に迷っているようだったから、その男の人に道を聞こうとしました。でも、その男の人は外国人と話したくなかったから、もう一人の男の人と新聞を読んでいると見せかけました。そこで、外国人は怒りました。
- ผมสร้างสถานการณ์ให้ตัวเองเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ คืออยู่ในสถานที่นั้นด้วย เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกร่วมกับผม
- ผมใช้ 過去形ในการเล่า เพราะคิดว่าเป็นการเล่าเรื่อง เล่าเหตุการณ์ที่ประสบพบเจอมา เลยใ้ช้รูปอดีต
- จุดแรกที่มีปัญหาในการใช้คำ คือคำว่า "สบตากัน" ซึ่งผมลองใช้คำว่า 見合う (มองกันและกัน)
- จุดที่สองที่มีปัญหาก็คือ วลีที่ว่า "หลบเข้าไปข้างหลัง (หนังสือพิมพ์ที่ชายอีกคนอ่านอยู่)" ผมเลยแปลงเนื้อความเป็นว่า もう一人の男の人と新聞を読んでいると見せかけました。(เขาทำทีเป็นอ่านหนังสือพิมพ์กับชายอีกคน)
- จุดสุดท้ายเป็นจุดที่อาจารย์แก้กลับมาให้ คือคำว่า そこで ในประโยคสุดท้าย ในความคิดผมคำว่า そこで มีความหมายว่า ดังนั้น ซึ่งเป็นการบอกความต่อเนื่องของเหตุการณ์สองเหตุการณ์ ที่เหตุการณ์ข้างหน้าเป็นเหตุให้เกิดเหตุการณ์ข้างหลัง ในที่นี้ก็คือ เหตุการณ์ข้างหน้าคือ ชายคนนั้นทำเป็นอ่านหนังสือพิมพ์กับชายอีกคน จึงเป็นเหตุให้นักท่องเที่ยวโกรธ แต่อาจารย์ก็ได้อธิบายให้ผมฟังว่า そこで ใช้ในการเชื่อมประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลจริง แต่เหตุการณ์สองเหตุการณ์ข้างต้นก็ไม่ได้มีความเป็นเหตุเป็นผลกันขนาดนั้น แล้วก็ そこで มักจะใช้เริ่มประโยคที่เป็นผลที่มีใจความสำคัญไปต่อ ไม่ใช่ประโยคจบแบบนี้
และเมื่อได้ดูตัวอย่างการใช้ภาษาของคนญี่ปุ่นในการอธิบายภาพเดียวกันหลายๆตัวอย่างแล้ว ผมก็ได้เลือกใช้คำที่คิดว่าดี อธิบายภาพได้ชัดเจนขึ้น และเขียนแก้ไขใหม่ดังนี้
<書き直し>
ペエスケはホテルに来ており、ロビーにあるソファーに座っていました。同じソファーには新聞を読んでいるおじさんも座っていました。ペエスケはぼーっとあたりを見回していると、ふと、地図を手に持った外国人のおじさんと目が合ってしまいました。どうやら道を探している旅行者らしかったです。外国人が道を聞こうとペエスケに歩み寄ってきました。面倒が起こる前に逃げたかったから、ペエスケは隣に座っているおじさんが読んでいる新聞のかげに隠れてしまったのです。おじさんもびっくりしました。その外国人は腹が立っていました。
- ในครั้งนี้ผมไม่ได้สมมติให้ตัวเองอยู่ในเหตุการณ์เหมือนครั้งแรก และก็เรียกชื่อตัวละครหลักที่เป็นชายที่หลบด้านหลังหนังสือพิมพ์ว่า ペエスケ ตามที่คนเขียนตั้งไว้
- ผมใช้ 過去形ในการเล่าเหมือนเดิม เพราะคิดว่าเป็นการเล่าเรื่อง เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ผ่านมาแล้ว เลยใ้ช้รูปอดีต
- จุดที่เคยมีปัญหาในการใช้คำว่า "สบตากัน" ก็เปลี่ยนใหม่เป็นคำว่า 目が合う ตามที่คนญี่ปุ่นใช้กัน และได้บรรยายเพิ่มเติมว่า ในตอนแรก ペエスケ มองไปรอบๆ (ペエスケはぼーっとあたりを見回している) และก็บังเอิญไปสบตากับนักท่องเที่ยว โดยใช้คำว่า ふと...てしまいました。เพื่อให้การกระทำนั้นดูเป็นเหตุบังเอิญ ผู้กระทำไม่ได้ตั้งใจทำเองมากยิ่งขึ้น
- เพิ่มคำว่า どうやら เพิ่มเข้าไป เพื่อให้คู่กับ らしい ในประโยคที่ว่า どうやら道を探している旅行者らしかったです。เนื่องจากอาจารย์ได้แนะนำมาว่าควรเพิ่มคำที่ทำให้ผู้อ่าน/ผู้ฟังเดาเรื่องหรือข้อความที่จะตามมาได้ ซึ่งคำว่า どうやら ก็มักจะใช้คู่กับ らしい ที่แปลว่า ดูเหมือนว่า...
- เพิ่มคำกริยา 歩み寄る (เดินเข้าใกล้) ที่จะทำให้ผู้อ่านเห็นภาพ เห็นการเคลื่อนไหวของนักท่องเที่ยวมากกว่าการใช้ 道を聞こうとする ที่ใช้ในการอธิบายครั้งแรก
- จุดที่มีปัญหากับวลีที่ว่า "หลบเข้าไปข้างหลัง (หนังสือพิมพ์ที่ชายอีกคนอ่านอยู่)" ก็แก้ไขเป็น 隣に座っているおじさんが読んでいる新聞のかげに隠れる ซึ่งทำให้เห็นภาพได้ชัดและตรงกว่าที่อธิบายในครั้งแรก
- จุดสุดท้ายที่เคยใช้ そこで แล้วผิด เปลี่ยนเป็นการขึ้นประโยคใหม่แืทน
จาก task ชิ้นนี้ สำหรับเรื่อง アスペクト ซึ่งเป็นหัวข้อหลักที่ผมสนใจศึกษา พบว่า
1) การใช้รูป ~ていました ซึ่งเป็นการบอกสภาพในอดีต เช่น ソファーに座っていました、腹が立っていました ซึ่งเกิดจากผันกริยาที่ปกติมักจะอยู่ในรูป ~ている อยู่แล้วให้เป็นอดีต
2) การใช้คำกริยาในวลีขยายคำนามหลัก เช่น 新聞を読んでいるおじさん、 地図を手に持った外国人、道を探している旅行者 จากคำข้างต้น ทำให้ผมเกิดข้อสงสัยในขั้นแรกว่า ทำไมกริยาบางตัวเป็น Vている บางตัวเป็น Vた และเมื่อพิจารณาดีๆแล้วจะพบว่า กรณีที่ใช้ Vている จะใช้บอกสภาพที่กำลังกระทำอยู่ ณ ขณะนั้น ส่วน 持った ที่ใช้ Vた เพราะโดยปกติ 持つ เมื่ออยู่ในรูป ている → 持っている จะมีความหมายว่า "มี" ดังนั้นถ้า้ใช้เป็น 持っている ก็จะแปลว่า นักท่องเที่ยวที่มีแผนที่ในมือ แต่ในที่นี้ต้องการสื่อว่า นักท่องเที่ยวที่ถือแผนที่ไว้ในมือ จึงใช้เป็นรูป た
3) การใช้ ~てくる ใน ペエスケに歩み寄ってきました เพื่อแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ว่า มาหาตัวペエスケ
ส่วนอื่นๆที่ได้จากการทำ task นี้ก็คือ คำศัพท์และสำนวนที่ใช้ร่วมกันตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น และเช่นเคยก็คือการที่ได้ดูการใ้ช้ภาษาของเจ้าของภาษาเปรียบเทียบ ทำให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบการใช้ภาษาที่ถูกต้อง และทำให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการในการใช้ภาษาที่ดีขึ้น และใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากยิ่งขึ้น
สุดท้ายนี้ก็อยากจะฝากให้ผู้อ่านคอยติดตามบล็อกของผมด้วยนะครับ ถึงแม้ว่าอาจจะมาอัพไม่ค่อยต่อเนื่อง แต่ก็ตั้งใจเขียนทุกครั้งเลยนะครับ แล้วเจอกันใหม่ในบทความหน้านะครับ สวัสดีครับผม
แต่วันนี้ผมมาพร้อมกับ task ชิ้นที่ 2 ซึ่งเป็น task ที่เกิดจากการพูดบรรยายภาพที่เรียกว่า 目に浮かぶ描写 ซึ่งเป็นการบรรยายภาพเพื่อให้ผู้ฟังจินตนาการเห็นภาพที่เล่าอย่างชัดเจน ราวกับภาพนั้นปรากฏแก่สายตาผู้ฟัง
โดยรูปที่ให้บรรยาย เป็นรูปของผู้ชายสองคนที่นั่งอยู่บนโซฟาในสถานที่ที่เหมือนล็อบบี้ของโรงแรม ชายคนหนึ่งกางหนังสือพิมพ์อ่านอยู่ ส่วนอีกคนนั่งเฉยๆ อีกด้านหนึ่งมีชายที่ดูท่าทางเหมือนนักท่องเที่ยวต่างชาติกำลังกางแผนที่หาทางอยู่ ชายที่นั่งเฉยๆและนักท่องเที่ยวสบตากัน นักท่องเที่ยวเดินเข้ามาหาชายคนนั้นเหมือนจะมาถามทาง แต่ชายคนนั้นกลัวที่จะต้องคุยกับนักท่องเที่ยว เลยเขยิบเข้าไปหลบในหนังสือพิมพ์ที่ชายอีกคนอ่านอยู่ นักท่องเีที่ยวเห็นดังนั้นเลยอารมณ์เสีย
โดยส่วนตัวผมเป็นคนที่มีทักษะการพูดไม่ค่อยดี จึงทำ task นี้ได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่เหมือนครั้งที่แล้วครับ คือพอทำในคาบเรียนเสร็จ ก็จะได้ตัวอย่างการใช้ภาษาของคนญี่ปุ่น หลังจากนั้นก็นำคำอธิบายที่เคยพูดไว้ มาปรับภาษาใหม่ในรูปแบบของตัวเองให้ดีขึ้น ดังต่อไปนี้ครับ
<オリジナル>
ある日、僕はホテルに行きました。そのホテルのロビーでは、二人の男の人がソファに座っていました。一人は地図を読んでいる外国人と見合いました。その外国人は道に迷っているようだったから、その男の人に道を聞こうとしました。でも、その男の人は外国人と話したくなかったから、もう一人の男の人と新聞を読んでいると見せかけました。そこで、外国人は怒りました。
- ผมสร้างสถานการณ์ให้ตัวเองเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ คืออยู่ในสถานที่นั้นด้วย เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกร่วมกับผม
- ผมใช้ 過去形ในการเล่า เพราะคิดว่าเป็นการเล่าเรื่อง เล่าเหตุการณ์ที่ประสบพบเจอมา เลยใ้ช้รูปอดีต
- จุดแรกที่มีปัญหาในการใช้คำ คือคำว่า "สบตากัน" ซึ่งผมลองใช้คำว่า 見合う (มองกันและกัน)
- จุดที่สองที่มีปัญหาก็คือ วลีที่ว่า "หลบเข้าไปข้างหลัง (หนังสือพิมพ์ที่ชายอีกคนอ่านอยู่)" ผมเลยแปลงเนื้อความเป็นว่า もう一人の男の人と新聞を読んでいると見せかけました。(เขาทำทีเป็นอ่านหนังสือพิมพ์กับชายอีกคน)
- จุดสุดท้ายเป็นจุดที่อาจารย์แก้กลับมาให้ คือคำว่า そこで ในประโยคสุดท้าย ในความคิดผมคำว่า そこで มีความหมายว่า ดังนั้น ซึ่งเป็นการบอกความต่อเนื่องของเหตุการณ์สองเหตุการณ์ ที่เหตุการณ์ข้างหน้าเป็นเหตุให้เกิดเหตุการณ์ข้างหลัง ในที่นี้ก็คือ เหตุการณ์ข้างหน้าคือ ชายคนนั้นทำเป็นอ่านหนังสือพิมพ์กับชายอีกคน จึงเป็นเหตุให้นักท่องเที่ยวโกรธ แต่อาจารย์ก็ได้อธิบายให้ผมฟังว่า そこで ใช้ในการเชื่อมประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลจริง แต่เหตุการณ์สองเหตุการณ์ข้างต้นก็ไม่ได้มีความเป็นเหตุเป็นผลกันขนาดนั้น แล้วก็ そこで มักจะใช้เริ่มประโยคที่เป็นผลที่มีใจความสำคัญไปต่อ ไม่ใช่ประโยคจบแบบนี้
และเมื่อได้ดูตัวอย่างการใช้ภาษาของคนญี่ปุ่นในการอธิบายภาพเดียวกันหลายๆตัวอย่างแล้ว ผมก็ได้เลือกใช้คำที่คิดว่าดี อธิบายภาพได้ชัดเจนขึ้น และเขียนแก้ไขใหม่ดังนี้
<書き直し>
ペエスケはホテルに来ており、ロビーにあるソファーに座っていました。同じソファーには新聞を読んでいるおじさんも座っていました。ペエスケはぼーっとあたりを見回していると、ふと、地図を手に持った外国人のおじさんと目が合ってしまいました。どうやら道を探している旅行者らしかったです。外国人が道を聞こうとペエスケに歩み寄ってきました。面倒が起こる前に逃げたかったから、ペエスケは隣に座っているおじさんが読んでいる新聞のかげに隠れてしまったのです。おじさんもびっくりしました。その外国人は腹が立っていました。
- ในครั้งนี้ผมไม่ได้สมมติให้ตัวเองอยู่ในเหตุการณ์เหมือนครั้งแรก และก็เรียกชื่อตัวละครหลักที่เป็นชายที่หลบด้านหลังหนังสือพิมพ์ว่า ペエスケ ตามที่คนเขียนตั้งไว้
- ผมใช้ 過去形ในการเล่าเหมือนเดิม เพราะคิดว่าเป็นการเล่าเรื่อง เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ผ่านมาแล้ว เลยใ้ช้รูปอดีต
- จุดที่เคยมีปัญหาในการใช้คำว่า "สบตากัน" ก็เปลี่ยนใหม่เป็นคำว่า 目が合う ตามที่คนญี่ปุ่นใช้กัน และได้บรรยายเพิ่มเติมว่า ในตอนแรก ペエスケ มองไปรอบๆ (ペエスケはぼーっとあたりを見回している) และก็บังเอิญไปสบตากับนักท่องเที่ยว โดยใช้คำว่า ふと...てしまいました。เพื่อให้การกระทำนั้นดูเป็นเหตุบังเอิญ ผู้กระทำไม่ได้ตั้งใจทำเองมากยิ่งขึ้น
- เพิ่มคำว่า どうやら เพิ่มเข้าไป เพื่อให้คู่กับ らしい ในประโยคที่ว่า どうやら道を探している旅行者らしかったです。เนื่องจากอาจารย์ได้แนะนำมาว่าควรเพิ่มคำที่ทำให้ผู้อ่าน/ผู้ฟังเดาเรื่องหรือข้อความที่จะตามมาได้ ซึ่งคำว่า どうやら ก็มักจะใช้คู่กับ らしい ที่แปลว่า ดูเหมือนว่า...
- เพิ่มคำกริยา 歩み寄る (เดินเข้าใกล้) ที่จะทำให้ผู้อ่านเห็นภาพ เห็นการเคลื่อนไหวของนักท่องเที่ยวมากกว่าการใช้ 道を聞こうとする ที่ใช้ในการอธิบายครั้งแรก
- จุดที่มีปัญหากับวลีที่ว่า "หลบเข้าไปข้างหลัง (หนังสือพิมพ์ที่ชายอีกคนอ่านอยู่)" ก็แก้ไขเป็น 隣に座っているおじさんが読んでいる新聞のかげに隠れる ซึ่งทำให้เห็นภาพได้ชัดและตรงกว่าที่อธิบายในครั้งแรก
- จุดสุดท้ายที่เคยใช้ そこで แล้วผิด เปลี่ยนเป็นการขึ้นประโยคใหม่แืทน
จาก task ชิ้นนี้ สำหรับเรื่อง アスペクト ซึ่งเป็นหัวข้อหลักที่ผมสนใจศึกษา พบว่า
1) การใช้รูป ~ていました ซึ่งเป็นการบอกสภาพในอดีต เช่น ソファーに座っていました、腹が立っていました ซึ่งเกิดจากผันกริยาที่ปกติมักจะอยู่ในรูป ~ている อยู่แล้วให้เป็นอดีต
2) การใช้คำกริยาในวลีขยายคำนามหลัก เช่น 新聞を読んでいるおじさん、 地図を手に持った外国人、道を探している旅行者 จากคำข้างต้น ทำให้ผมเกิดข้อสงสัยในขั้นแรกว่า ทำไมกริยาบางตัวเป็น Vている บางตัวเป็น Vた และเมื่อพิจารณาดีๆแล้วจะพบว่า กรณีที่ใช้ Vている จะใช้บอกสภาพที่กำลังกระทำอยู่ ณ ขณะนั้น ส่วน 持った ที่ใช้ Vた เพราะโดยปกติ 持つ เมื่ออยู่ในรูป ている → 持っている จะมีความหมายว่า "มี" ดังนั้นถ้า้ใช้เป็น 持っている ก็จะแปลว่า นักท่องเที่ยวที่มีแผนที่ในมือ แต่ในที่นี้ต้องการสื่อว่า นักท่องเที่ยวที่ถือแผนที่ไว้ในมือ จึงใช้เป็นรูป た
3) การใช้ ~てくる ใน ペエスケに歩み寄ってきました เพื่อแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ว่า มาหาตัวペエスケ
ส่วนอื่นๆที่ได้จากการทำ task นี้ก็คือ คำศัพท์และสำนวนที่ใช้ร่วมกันตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น และเช่นเคยก็คือการที่ได้ดูการใ้ช้ภาษาของเจ้าของภาษาเปรียบเทียบ ทำให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบการใช้ภาษาที่ถูกต้อง และทำให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการในการใช้ภาษาที่ดีขึ้น และใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากยิ่งขึ้น
สุดท้ายนี้ก็อยากจะฝากให้ผู้อ่านคอยติดตามบล็อกของผมด้วยนะครับ ถึงแม้ว่าอาจจะมาอัพไม่ค่อยต่อเนื่อง แต่ก็ตั้งใจเขียนทุกครั้งเลยนะครับ แล้วเจอกันใหม่ในบทความหน้านะครับ สวัสดีครับผม
วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
task1_michiannai
งั้นลองมาดูกันนะครับว่า before&after ของผมจะต่างกันมากน้อยแค่ไหน =)
v
v
v
v
<オリジナル>
チュラ大文学部BRKビルへの行き方
BTSチョンノンシー駅に入ってから、「To National Stadium」というホームに行って、電車に乗って、BTSサイヤム駅で降りてください。それから、5番の出口を出て、歩道をまっすぐ歩いて歩道橋に着くと、階段を駆け下りてください。そうすると、バイクタクシーを呼んで、「アックソーン・チュラー」と行き先を言ってください。行き先に着いたら、食堂が見えます。そして、その辺の人に「ボーロム」と言ってください。そのビルは白くて、前に階段があって、「True Coffee」という店があるビルのそばにあるビルです。
<書き直し>
チュラーロンコーン大学文学部BRKビルへの行き方
BTSチョンノンシー駅からチュラーロンコーン大学文学部BRKビルまでの道のりを説明します。手段は、BTSスカイトレインと徒歩です。
まず、チョンノンシー駅から「ナショナルスタディアム」行きの電車に乗ります。チョンノンシー、サーラーデェーン、ラーッシャダムリ、サイヤム駅の順に各駅に停まるので、三つ目のサイヤム駅で下車してください。
次に、サイヤム駅の5、6番の改札口を出ます。出てから、すぐに「Karmart」というピンクの店が見えます。そこから右手に進んでいくと、まもなく階段が見えるので、下っていきます。下ってから、セブンイレブンが見えて、そのまま直進します。途中右手にサイヤムキットビル、歯科学部、獣医学部、トゥリアムウドムスックサー高校、サーティットパテゥムワン学校があります。
サーティットパテゥムワン学校を過ぎて少し歩くと門が見えて、入ります。入ると、右手に食堂がありますので、それに沿って歩いて下さい。食堂のそばにある建物はMCSビルです。MCSビルを通って、ようやく文学部のBRKビルが見えるのです。
เป็นยังไงบ้างครับ เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการในการเขียนของผมมั้ยครับ? ฮ่าๆๆ
โดยส่วนตัวของผมเอง ความรู้สึกที่มีต่อชิ้นงานนี้ มีดังต่อไปนี้ครับ
สำหรับ <オリジナル>
- พบการใช้รูป ~てください ในการบอกให้ผู้อ่านทำสิ่งต่างๆ
- มีการใช้คำสันธานบอกลำดับขั้นตอน เช่น それから、そうすると、そして ทำให้ผู้อ่านทราบ
ถึงการเปลี่ยนผ่านของการกระทำว่าต้องทำอะไรก่อน-หลัง
- พบการใช้สถานที่หรือจุดสังเกตเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันความถูกต้องยังน้อยอยู่ มีแค่ตรงที่บอกว่า
「True Coffee」という店があるビル ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด
เดินไปผิดทางได้ กล่าวคือ ยังอธิบายไม่ชัดเจน ไม่เห็นภาพนั่นเอง
- เป็นการบอกวิธีการเดินทางที่ไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากให้ผู้อ่านถามทางคนอื่น ซึ่งเป็นปัจจัย
ภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ เพราะผู้อ่านซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นอาจจะสื่อสารกับคนไทยไม่เข้าใจ
- โดยภาพรวมคือ ยังทำได้ไม่ดี
ส่วน <書き直し>
- พบการใช้รูป ます ร่วมกับการใช้ ~てください ทำให้เวลาอ่านไม่น่าเบื่อ ไม่ได้มีรูปแบบ
การเขียนเดียว
- มีการใช้คำสันธานบอกลำดับขั้นตอน まず、次に、ようやくช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจลำดับ
การกระทำว่าต้องทำอะไรก่อน-หลัง
- มีการให้รายละเอียดที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งข้อมูลและภาพ มีการใช้ใช้สถานที่หรือจุดสังเกตเป็น
สิ่งที่ช่วยยืนยันความถูกต้องคอยกำกับ ป้องกันไม่ให้ผู้อ่านหลงทาง
- โดยภาพรวม ถือว่าดีขึ้นกว่าอันแรกมาก มีพัฒนาการขึ้น เห็นภาพ เข้าใจง่าย อันเกิดจากการ
เลียนแบบการเขียนจากเจ้าของภาษานั่นเอง
ในแง่ของการศึกษา アスペクトเนื่องจากงานชิ้นนี้เป็นการเขียนวิธีการ บอกให้ทำ ซึ่งมีเพียงแค่การใช้ ~てください และรูป ます จึงยังไม่มีปัญหาหรือจุดที่น่าสังเกตเกี่ยวกับ アスペクト
แต่อย่างน้อยงานที่ได้มอบหมายครั้งนี้ ก็ทำให้ผมได้สังเกต เปรียบเทียบ การเขียนของตนเองและเจ้าของภาษา อีกทั้งยังได้ฝึกฝน และพัฒนาการเขียนของตนเองเพิ่มขึ้นครับ
โดยส่วนตัวของผมเอง ความรู้สึกที่มีต่อชิ้นงานนี้ มีดังต่อไปนี้ครับ
สำหรับ <オリジナル>
- พบการใช้รูป ~てください ในการบอกให้ผู้อ่านทำสิ่งต่างๆ
- มีการใช้คำสันธานบอกลำดับขั้นตอน เช่น それから、そうすると、そして ทำให้ผู้อ่านทราบ
ถึงการเปลี่ยนผ่านของการกระทำว่าต้องทำอะไรก่อน-หลัง
- พบการใช้สถานที่หรือจุดสังเกตเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันความถูกต้องยังน้อยอยู่ มีแค่ตรงที่บอกว่า
「True Coffee」という店があるビル ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด
เดินไปผิดทางได้ กล่าวคือ ยังอธิบายไม่ชัดเจน ไม่เห็นภาพนั่นเอง
- เป็นการบอกวิธีการเดินทางที่ไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากให้ผู้อ่านถามทางคนอื่น ซึ่งเป็นปัจจัย
ภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ เพราะผู้อ่านซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นอาจจะสื่อสารกับคนไทยไม่เข้าใจ
- โดยภาพรวมคือ ยังทำได้ไม่ดี
ส่วน <書き直し>
- พบการใช้รูป ます ร่วมกับการใช้ ~てください ทำให้เวลาอ่านไม่น่าเบื่อ ไม่ได้มีรูปแบบ
การเขียนเดียว
- มีการใช้คำสันธานบอกลำดับขั้นตอน まず、次に、ようやくช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจลำดับ
การกระทำว่าต้องทำอะไรก่อน-หลัง
- มีการให้รายละเอียดที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งข้อมูลและภาพ มีการใช้ใช้สถานที่หรือจุดสังเกตเป็น
สิ่งที่ช่วยยืนยันความถูกต้องคอยกำกับ ป้องกันไม่ให้ผู้อ่านหลงทาง
- โดยภาพรวม ถือว่าดีขึ้นกว่าอันแรกมาก มีพัฒนาการขึ้น เห็นภาพ เข้าใจง่าย อันเกิดจากการ
เลียนแบบการเขียนจากเจ้าของภาษานั่นเอง
ในแง่ของการศึกษา アスペクトเนื่องจากงานชิ้นนี้เป็นการเขียนวิธีการ บอกให้ทำ ซึ่งมีเพียงแค่การใช้ ~てください และรูป ます จึงยังไม่มีปัญหาหรือจุดที่น่าสังเกตเกี่ยวกับ アスペクト
แต่อย่างน้อยงานที่ได้มอบหมายครั้งนี้ ก็ทำให้ผมได้สังเกต เปรียบเทียบ การเขียนของตนเองและเจ้าของภาษา อีกทั้งยังได้ฝึกฝน และพัฒนาการเขียนของตนเองเพิ่มขึ้นครับ
วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
หัวข้อที่สนใจศึกษา
สำหรับหัวข้อทางภาษาญี่ปุ่นที่ผมสนใจศึกษา นั่นก็คือ ทะแด่มแทมแท้ม...
เรื่อง アスペクト ในการเขียน นั่นเองครับ
บางคนอาจจะสงสัยว่า アスペクト คืออัลไล โดยส่วนตัวผมเองก็ยังไม่ค่อยเข้าใจคำนี้สักเท่าไหร่เช่นกัน
แต่เท่าที่ผมเข้าใจก็คือ การกระทำหนึ่งๆ (กริยา) จะเปลี่ยนหรือผันรูปตามกาล (テンス)อันได้แก่ รูปอดีัต (過去形) และรูปไม่ใช่อดีต (非過去形) ซึ่งรวมทั้งรูปปัจจุบันและรูปอนาคต ส่วน アスペクト เป็นมุมมองที่มีต่อลักษณะของกริยานั้นว่า เกิดขึ้น ดำเนินอยู่ หรือจบไปแล้ว เป็นต้น จึงเข้าใจได้ว่า アスペクト เป็นส่วนที่ขยายกาล แ่ต่ถ้าหากความเข้าใจของผมผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะึีัครับ แล้วจะไปค้นคว้ามาเพิ่มเติมครับ
ส่วนสาเหตุที่ผมศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็เนื่องจาก アスペクト เป็นส่วนที่ขยายกาล จึงไม่สามารถใช้เพียงเวลาเป็นเกณฑ์ตัดสินว่า ถ้าเกิดในอดีตก็ใช้รูป タ ถ้ายังไม่เกิดก็ใช้รูป ル ได้ แต่มันขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้พูดที่มีต่อกริยานั้นๆ ว่าเป็นการกระทำที่เพิ่งเกิด ดำเนินอยู่ จบไปแล้ว เพิ่งเปลี่ยนแปลงมา หรือกำลังจะเปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น ซึ่งมุมมองดังกล่าวเป็นสิ่งที่บางครั้งไม่มีในภาษาไทย หรือบางครั้งคนไทยก็มีมุมมองที่ไม่ตรงกับคนญี่ปุ่น จึงทำให้ใช้ผิด เขียนผิดอยู่บ่อยครั้ง
ดังนั้นผมจึงอยากจะศึกษาเรื่องนี้ เพื่อดูความถี่ในการใช้ アスペクト ต่างๆ ของคนญี่ปุ่น และพยายามสรุปหาหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้ アスペクト ประเภทต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้ที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นท่านอื่นๆ ด้วย
วิธีการที่ผมคาดว่าจะใช้ในการศึกษาเรื่อง アスペクト ได้แก่
1. สังเกตการเลือกใช้ アスペクト ในงานเขียนของตนเอง ดูว่ากรณีใดที่เลือกใช้ アスペクト ไม่ถูก หรือสับสน
2. หาบทความหรืองานเขียนของคนญี่ปุ่นที่มีการใช้ アスペクト ที่ถูกต้องมาศึกษา
3. จัดประเภท アスペクト ที่พบในงานเขียนของคนญี่ปุ่น
4. เปรียบเทียบกับการใช้ アスペクト ของตนเองว่ามีความเหมือนหรือต่างกับเจ้าของภาษา
5. แก้ไขในส่วนที่คิดว่าใช้ผิด และเฝ้าสังเกตพัฒนาการเขียนของตน
จากวิธีการดังกล่าว เครื่องมือที่ผมจะใช้ก็คือ งานเขียนของผม และงานเขียนของคนญี่ปุ่น (เจ้าของภาษษา) โดยที่ผมจะโพสต์งานเขียนดังกล่าวลงในบล็อกนี้เรื่อยๆ นะครับ นอกจากนี้ อาจมีการใช้หนังสือไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น และหนังสือภาษาศาสตร์ที่มีการอธิบายเรื่อง アスペクト ประกอบในฐานะหนังสืออ้างอิง เพื่อใช้สนับสนุนความคิดและการศึกษาของผม
ดังนั้นเป้าหมายของผม(目標)ก็คือ ผมสามารถจัดประเภทและเลือกใช้ アスペクト ได้อย่างถูกต้อง ใกล้เีคียงกับเจ้าของภาษา
ี
แม้งานศึกษาชิ้นนี้จะไม่ใช่หัวข้อที่ยิ่งใหญ่ หรือแปลกใหม่สำหรับวงการภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่น แต่ผมก็หวังว่า ผลการศึกษาครั้งนี้จะช่วยพัฒนาศักยภาพในการใช้ภาษาญี่ปุ่นของผม และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นครับ
เป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ 頑張りまーす
เรื่อง アスペクト ในการเขียน นั่นเองครับ
บางคนอาจจะสงสัยว่า アスペクト คืออัลไล โดยส่วนตัวผมเองก็ยังไม่ค่อยเข้าใจคำนี้สักเท่าไหร่เช่นกัน
แต่เท่าที่ผมเข้าใจก็คือ การกระทำหนึ่งๆ (กริยา) จะเปลี่ยนหรือผันรูปตามกาล (テンス)อันได้แก่ รูปอดีัต (過去形) และรูปไม่ใช่อดีต (非過去形) ซึ่งรวมทั้งรูปปัจจุบันและรูปอนาคต ส่วน アスペクト เป็นมุมมองที่มีต่อลักษณะของกริยานั้นว่า เกิดขึ้น ดำเนินอยู่ หรือจบไปแล้ว เป็นต้น จึงเข้าใจได้ว่า アスペクト เป็นส่วนที่ขยายกาล แ่ต่ถ้าหากความเข้าใจของผมผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะึีัครับ แล้วจะไปค้นคว้ามาเพิ่มเติมครับ
ส่วนสาเหตุที่ผมศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็เนื่องจาก アスペクト เป็นส่วนที่ขยายกาล จึงไม่สามารถใช้เพียงเวลาเป็นเกณฑ์ตัดสินว่า ถ้าเกิดในอดีตก็ใช้รูป タ ถ้ายังไม่เกิดก็ใช้รูป ル ได้ แต่มันขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้พูดที่มีต่อกริยานั้นๆ ว่าเป็นการกระทำที่เพิ่งเกิด ดำเนินอยู่ จบไปแล้ว เพิ่งเปลี่ยนแปลงมา หรือกำลังจะเปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น ซึ่งมุมมองดังกล่าวเป็นสิ่งที่บางครั้งไม่มีในภาษาไทย หรือบางครั้งคนไทยก็มีมุมมองที่ไม่ตรงกับคนญี่ปุ่น จึงทำให้ใช้ผิด เขียนผิดอยู่บ่อยครั้ง
ดังนั้นผมจึงอยากจะศึกษาเรื่องนี้ เพื่อดูความถี่ในการใช้ アスペクト ต่างๆ ของคนญี่ปุ่น และพยายามสรุปหาหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้ アスペクト ประเภทต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้ที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นท่านอื่นๆ ด้วย
วิธีการที่ผมคาดว่าจะใช้ในการศึกษาเรื่อง アスペクト ได้แก่
1. สังเกตการเลือกใช้ アスペクト ในงานเขียนของตนเอง ดูว่ากรณีใดที่เลือกใช้ アスペクト ไม่ถูก หรือสับสน
2. หาบทความหรืองานเขียนของคนญี่ปุ่นที่มีการใช้ アスペクト ที่ถูกต้องมาศึกษา
3. จัดประเภท アスペクト ที่พบในงานเขียนของคนญี่ปุ่น
4. เปรียบเทียบกับการใช้ アスペクト ของตนเองว่ามีความเหมือนหรือต่างกับเจ้าของภาษา
5. แก้ไขในส่วนที่คิดว่าใช้ผิด และเฝ้าสังเกตพัฒนาการเขียนของตน
จากวิธีการดังกล่าว เครื่องมือที่ผมจะใช้ก็คือ งานเขียนของผม และงานเขียนของคนญี่ปุ่น (เจ้าของภาษษา) โดยที่ผมจะโพสต์งานเขียนดังกล่าวลงในบล็อกนี้เรื่อยๆ นะครับ นอกจากนี้ อาจมีการใช้หนังสือไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น และหนังสือภาษาศาสตร์ที่มีการอธิบายเรื่อง アスペクト ประกอบในฐานะหนังสืออ้างอิง เพื่อใช้สนับสนุนความคิดและการศึกษาของผม
ดังนั้นเป้าหมายของผม(目標)ก็คือ ผมสามารถจัดประเภทและเลือกใช้ アスペクト ได้อย่างถูกต้อง ใกล้เีคียงกับเจ้าของภาษา
ี
แม้งานศึกษาชิ้นนี้จะไม่ใช่หัวข้อที่ยิ่งใหญ่ หรือแปลกใหม่สำหรับวงการภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่น แต่ผมก็หวังว่า ผลการศึกษาครั้งนี้จะช่วยพัฒนาศักยภาพในการใช้ภาษาญี่ปุ่นของผม และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นครับ
เป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ 頑張りまーす
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
แนะนำตัวกันซักหน่อยนะฮ้าฟ
สวัสดีครับ ผม "คาม" นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะอักษรศาสตร์
สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับบล็อกนี้ ก็ถือว่าเป็นบล็อกแรกในชีวิตของผมเลย
จุดประสงค์ในการสร้างบล็อกนี้ขึ้นมา ก็เพื่อจดบันทึกข้อสงสัย หรือความรู้ใหม่เกี่ยวกับหัวข้อทางภาษาญี่ปุ่นที่ผมสนใจ ตลอดจนเรื่องที่ผมประทับใจ และความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ในชั่วขณะต่างๆ
อันเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนวิชา 2223332 APP JP LING ภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นประยุกต์ครับ
หวังว่าบล็อกนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เข้ามาอ่าน และเป็นที่ที่ไว้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันนะครับ
กรุณาแสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพด้วยนะครับ =)
ฝากตัวด้วยครับป๋ม ^0^
สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับบล็อกนี้ ก็ถือว่าเป็นบล็อกแรกในชีวิตของผมเลย
จุดประสงค์ในการสร้างบล็อกนี้ขึ้นมา ก็เพื่อจดบันทึกข้อสงสัย หรือความรู้ใหม่เกี่ยวกับหัวข้อทางภาษาญี่ปุ่นที่ผมสนใจ ตลอดจนเรื่องที่ผมประทับใจ และความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ในชั่วขณะต่างๆ
อัน
หวังว่าบล็อกนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เข้ามาอ่าน และเป็นที่ที่ไว้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันนะครับ
กรุณาแสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพด้วยนะครับ =)
ฝากตัวด้วยครับป๋ม ^0^
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)