วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

taskเพิ่มเติม_雪国

ในคาบสุดท้ายของการเรียนการสอน อาจารย์ได้ให้ข้อความกับพวกเรามาดังนี้ครับ
「国境の長いトンネルを抜けると雪国であった」ซึ่งเป็นข้อความแรกของนวนิยายเรื่อง 『雪国』ที่แปลคร่าวๆได้ว่า เมื่อหลุดออกมาจากอุโมงค์กั้นพรมแดนที่ทอดยาว ก็พบเจอกับเมืองหิมะ แล้วก็ให้พวกเราวาดรูปจากข้อความนี้ ซึ่งก็ได้เป็นภาพด้านล่างนี้ครับ แต่ !!! ก่อนเลื่อนลงไปดู ผมอยากให้คุณผู้อ่านลองวาดก่อน อย่าเพิ่งแอบดูรูปที่ผมวาดนะครับ ดูซิว่าจะเหมือนหรือต่างกันยังไงบ้าง

ถ้าวาดเสร็จแล้วก็ลองมาดูกันครับ (ไม่เกี่ยวกับสวย ไม่สวยนะ เพราะถ้าวัดกันที่ความสวยผมคงแพ้ตั้งแต่ยังไม่เริ่ม ฮ่าๆๆ)
V
V
V
V
V
V
V
V
V
V
V
V
V 

ฝีมืออาจจะห่วยหน่อยนะครับ ภาพที่ผมวาดก็คือ เป็นภาพรถไฟที่ลอดออกมาจากอุโมงค์ ในตอนนั้นหิมะก็กำลังตก พื้นปกคลุมไปด้วยหิมะขาวโพลน

แต่หลังจากนั้นอาจารย์ก็โชว์ภาพที่คนญี่ปุ่นวาดจากข้อความเดียวกันให้ดู มีลักษณะดังนี้ครับ


คือเป็นภาพที่มองเห็นจากสายตาที่อยู่ในรถไฟที่กำลังลอดผ่านอุโมงค์ พื้นเบื้องหน้าสองข้างทางปกคลุมไปด้วยหิมะขาวโพลน

จากการทำ task ชิ้นนี้จะทำให้เห็นถึงความแตกต่างในการตีความสารของคนญี่ปุ่นซึ่งเป็นเจ้าของภาษากับชาวต่างชาติที่เป็นผู้เรียนภาษา คนญี่ปุ่นมักจะจินตนาการว่าตัวเองอยู่ในสิ่งที่กล่าวถึง อย่างในข้อความข้างต้นคือ ผู้อ่านจะจินตนาการหรือคิดว่าตัวเองเป็นหนึ่งในผู้โดยสารในรถไฟที่กำลังจะลอดออกมาจากอุโมงค์ จึงเห็นภาพ 雪国 เป็นภาพที่มองออกมาจากในตัวรถไฟ ส่วนชาวต่างชาติอย่างผม มักจะจินตนาการภาพเป็นเหมือนฉากละคร หรือมองด้วยสายตาของบุคคลที่ 3 ที่อยู่นอกเรื่อง ไม่ได้เป็นส่วนเดียวกับข้อความ และนี่คือความแตกต่างระหว่างเจ้าของภาษาและผู้เรียนภาษา

โดยส่วนตัวผมรู้สึกว่า task นี้ทำให้ทราบถึงข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ เพราะการรับรู้ลักษณะเฉพาะของเจ้าของภา่ษาที่แตกต่างจากเรา จะทำให้เราเรียนรู้เข้าใจความแตกต่างนั้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้การใช้ภาษาหรือวิธีการสื่อสารของเรามีความใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากยิ่งขึ้นในอนาคต

task6_oreimail

มาถึงการเขียนอีเมล์ประเภทสุดท้ายแล้วนะครับ นั่นก็คือ อีเมล์ขอบคุณ หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า お礼メール ซึ่งดูเหมือนจะง่าย เพราะเรามักจะคิดว่า ก็แค่เขียนว่าเขาทำอะไรให้เรา เราซึ้งใจเลยขอบคุณก็น่าจะใช้ได้แล้ว แต่ที่จริงแล้วเราสามารถทำให้มันน่าประทับใจได้มากกว่านั้นครับ งั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าจะต้องเขียนยังไง

คำสั่งของ task นี้ ก็คือ เราได้รับการเลี้ยงอาหารจากอาจารย์ 田中 เลยส่งเมล์ไปขอบคุณอาจารย์ ซึ่งอย่างที่ผมได้บอกไปว่า ด้วยความคิดที่ว่่าเนื้อความของจดหมายไม่มีอะไรมาก ก็เลยเขียนไปสั้นๆ ดังนี้ครับ

田中先生
 3年生のサーヤンです。今日、ご馳走になっていただきまして、どうもありがとうございました。
サーヤン
ก็คือมีแนะนำตัวเอง บอกสิ่งที่อาจารย์ทำให้เรานั่นก็คือการเลี้ยงอาหาร แล้วก็กล่าวขอบคุณ สุดแสนจะเบสิคเลยใช่มั้ยครับ แต่ถ้ามองมุมกลับว่าถ้าเราเป็นผู้รับ แล้วได้รับเนื้อความขอบคุณเพียงเท่านี้ ก็อาจจะรู้สึกว่า เขียนมาเท่านี้ ไม่ต้องเขียนมาก็ได้ เปลืองเนื้อที่อินบ็อกซ์มากเลย ฮ่าๆๆ ดังนั้นจึงต้องเพิ่มรายละเอียดให้กับอีเมล์ฉบับนี้มากยิ่งขึ้น ดังนี้ครับ
1. เขียนถึงสิ่งที่ผู้รับทำให้เราอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้เนื้อหาดูมีรายละเอียด เพื่อแสดงว่าเราใส่ใจในรายละเอียดของการกระทำที่เขาทำให้เรา โดยอาจจะยกตัวอย่างประกอบ หรือเล่าเป็นเหตุการณ์สั้นๆก็ได้ (エピソード)
2. เขียนแสดงความประทับใจที่มีต่อการกระทำที่เขาทำให้เรา อย่างเช่นในสถานการณ์สมมติที่อาจารย์เลี้ยงอาหารเรา เราก็อาจเขียนแสดงความประทับใจในร้านและอาหารนั้น โดยอาจจะบอกว่าหลังจากที่พาไปวันนั้น ก็กลับไปกินอีก แสดงถึงผลลัพธ์ัอันเกิดจากการกระทำของเขา ให้เขารู้สึกดีใจที่เรานึกถึงการกระทำของเขา
3. เขียนแสดงน้ำใจหรือการตอบแทน หรือแสดงความสัมพันธ์ไมตรีจิตที่ดีต่อกัน เช่น ถ้ามีโอกาสก็อยากจะแนะนำหรือพาไปร้านอาหารอร่อยๆที่เรารู้จักบ้าง เป็นการแลกเปลี่ยนกัน เป็นต้น
สำหรับ task นี้ก็มีให้ลองเขียนใหม่เหมือนกัน แต่ไม่ได้ให้เขียนใหม่ทั้งหมด แต่ให้ลองเขียนอธิบายคำว่า おいしい料理 ให้เป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้รับ งั้นมาลองดูกันนะครับว่าผมจะเขียนยังไงบ้าง
เนื้อความที่ให้มา
田中先生
昨日は、すてきなお店でおいしい料理をごちそうになり、ありがとうございました。← ย้อนถึงสิ่งที่เขาทำให้เรา กล่าวขอบคุณ
今度、バンコクにいらっしゃる機会があれば、私の学校にもお立ち寄りください。田中先生とお目にかかれるのを楽しみにしています。← แสดงความต้องการที่จะสานสัมพันธ์กันต่อไป
パーワン
ผมเขียนอธิบายคำว่า おいしい料理 ดังนี้ครับ
それは本物のお寿司を食べるのが初めてでした。食材もよかったし、ベテランの味も感じたし、店の雰囲気もよかったから、とてもおいしかったです。
ผมเขียนโดยยกตัวอย่างว่า ครั้งนี้เป็นการทานซูชิแบบต้นตำรับครั้งแรก วัตถุดิบที่ใช้ก็ชั้นดี รสชาติก็ระดับเชฟยอดฝีมือ บรรยากาศร้านก็ดี เลยทำให้รู้สึกว่า(อาหารมื้อนี้)อร่อยมาก เป็นการนำองค์ประกอบเล็กๆน้อยๆที่ประทับใจมารวมกัน เพื่ออธิบายคำว่า おいしい 
นอกจากนี้ยังมีจุดเพิ่มเติมเล็กๆอีกหนึ่งจุดคือ อีเมล์ขอบคุณมักจะไม่ใช้คำว่า ありがとう พร่ำเพรื่อ แตกต่างจากอีเมล์ขอโทษที่ใส่สำนวนขอโทษได้บ่อยครั้งกว่า 
ยังไงผู้อ่านก็ลองเอาเทคนิคการเขียนเมล์ขอบคุณไปใช้กันดูนะครับ อย่าลืมใส่เรื่องราวเล็กๆน้อยๆที่แสดงถึงการใส่ใจรายละเอียดในการกระทำของผู้รับด้วยนะครับ มันจะทำให้เขาประทับใจในอีเมล์ขอบคุณของคุณมากยิ่งขึ้นแน่นอนครับ =)

task5_owabimail

ตามที่สัญญาไว้นะครับว่าจะลง task ที่เป็นการเขียนอีเมล์ประเภทต่างๆมาให้อ่านต่อ ครั้งนี้เป็นอีเมล์ประเภทขอโทษ หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า お詫びのメール ส่วนหน้าตาของมันจะเป็นอย่างไรนั้น เหมือนหรือต่างกับอีเมล์ก่อนหน้านี้มากน้อยแค่ไหน ไปดูกันครับ

คำสั่งของ task นี้คือ เรามีสาเหตุบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถส่งรายงานได้ทันตามกำหนด ดังนั้นจึงต้องเขียนอีเมล์เพื่อบอกสาเหตุ พร้อมขอโทษ และขอส่งย้อนหลัง โดยครั้งแรกที่ผมลองเขียนมีหน้าตาอย่างนี้ครับ
ชื่อไตเติ้ลคือ 329 3年生作文クラス1組 欠席届‏ (ประกอบไปด้วยรหัสวิชา ชื่อวิชา เลขประจำหมู่ และชื่อหัวข้อ คือ จดหมายลา)

田中先生 ← เช่นเดียวกับเมล์ก่อนหน้านี้ หากส่งไปหาอาจารย์หรือผู้อาวุโส ซึ่งต้องการความเป็นทางการ หลังชื่อผู้รับไม่ต้องใส่ へ 
 3年生作文クラス1組のサーヤンです。いつも真ん中の座席に座っている男の子です。いつもネクタイをしており、黒くて短い髪をしており、顔が細長くて、目が大きくて黒くて、眉毛が濃くて、鼻が高いものです。← แนะนำตัวเองว่าชื่ออะไร มีลักษณะพิเศษยังไงบ้าง เพื่อให้อาจารย์นึกออก
 私、この度、病気のため、12月27日の作文クラスを欠席いたしましたので、ここにご報告いたします。 ← บอกสาเหตุการขาดเรียนว่าเป็นเพราะความเจ็บป่วย
 その病気は、木曜日の夜中にお腹を壊し、食中毒のようでした。そこで、この授業に出席できなくなって、申し訳ございませんでした。← บอกรายละเอียดของการเจ็บป่วยว่าเกิดจากอาการท้องเสีย คล้ายจะเป็นอาหารเป็นพิษ พร้อมกับกล่าวขอโทษที่มาเรียนไม่ได้
 この授業はレポート提出期限だと分かっておりますが、そういう訳で、提出いたさなくなってしまいました。← แสดงถึงการรับรู้กำหนดส่งรายงาน แต่ด้วยสาเหตุดังกล่าวอันสุดวิสัยจึงทำให้ไม่สามารถมาส่งได้
 こうしたら、これから提出させていただけないでしょうか。ご都合はいかがでしょうか。← แสดงถึงความต้องการที่จะขอส่งใหม่ โดยถามถึงความสะดวกของอาจารย์
 ご迷惑をおかけして、本当に申し訳ございませんでした。 ← แสดงถึงความเกรงใจและกล่าวขอโทษ
サーヤン ← หลังชื่อผู้ส่งก็ไม่ต้องใส่ より
เมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบของเมล์ประเภทก่อนหน้านี้ ก็มีบางจุดที่เหมือนกันคือ การขึ้นต้นและลงท้ายที่ไม่ใส่ へ และ より หลังชื่อผู้รับและผู้ส่งตามลำดับ และในย่อแรกจะเป็นย่อหน้าของการแนะนำตัวเอง ตามมาด้วยย่อหน้าที่สองที่เป็นสาเหตุที่มาของการส่งเมล์หาอาจารย์ ซึ่งในที่นี้คือ การขาดเรียนเนื่องจากไม่สบาย นอกจากนี้ก็ต้องระวังเรื่องการใช้คำสุภาพ ยกย่อง ถ่อมตนให้ถูกต้อง มิฉะนั้นอาจทำให้ผู้อ่านหงุดหงิดได้ ส่วนจุดที่แตกต่างกันคือ   เนื่องจากเป็นเมล์ขอโทษจึงมีสำนวนขอโทษปรากฏให้เห็น คือ 申し訳ございません ซึ่งในที่นี้เป็นการขอโทษเรื่องในอดีตจึงผันเป็นรูปอดีตกลายเป็น 申し訳ございませんでした และมีการใช้สำนวนนี้ 2 ครั้ง ตามที่ได้ขีดเส้นใต้ข้างต้น เพื่อแสดงถึงความขอโทษ และรู้สึกผิด
หลังจากที่ได้อ่านเอกสารประกอบการสอนเรื่อง お詫びのメール เพิ่มเติม ก็ทำให้ได้จุดที่ควรระวัง และจุดที่ควรใส่เพิ่มเติม ดังนี้
1. อย่าเขียนสาเหตุของการไม่ส่งรายงานที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล เช่น ยุ่งกับการช่วยงานแต่งงานของเพื่อน หรือยุ่งกับการเตรียมตัวสมัครงาน เพราะไม่ใช่เรื่องสุดวิสัย และยังแสดงถึงความขาดรับผิดชอบ และไม่ให้ความสำคัญต่อรายวิชาของอาจารย์ด้วย อันจะทำให้อาจารย์มีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อผู้เขียนได้
2. ควรเขียนในเชิงที่ว่าเป็นความผิดของตัวเอง และตนเองก็สำนึกถึงความผิดพลาดนั้น เช่น แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัย แต่ก็รู้สึกผิดที่ไม่ได้ใช้เวลาก่อนหน้านี้เตรียมรายงานให้มากกว่านี้ เป็นต้น เป็นการสร้างความประทับใจให้กับผู้รับว่า ผู้เขียนรู้สึกผิดจริงๆกับการที่ส่งรายงานไม่ทัน โดยยอมรับว่าเป็นความผิดของตัวเองเพื่อแสดงความรับผิดชอบ
3. แสดงถึงความพยายาม เช่น เนื่องจากต้องไปเข้าร่วมการสัมมนาที่อำเภอ...จังหวัด... และสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่นั่นก็แย่อย่างไม่ได้คาดคิด แต่ก็นั่งรถออกไปหาร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่แล้วแต่ก็ไม่พบ เป็นต้น ส่วนที่ขีดเส้นใต้แสดงถึงความพยายามของผู้เขียนว่า พยายามที่จะหาทางส่งรายงานแล้ว แต่มันก็ไม่ได้จริงๆ แสดงถึงเหตุสุดวิสัยที่ไม่ได้เกิดจากตัวผู้เขียน
4. เขียนโดยให้ผู้อ่านรู้สึกถึงความกระตือรือร้นของตนเอง เช่น รายงานเล่มนี้เกิดจากความตั้งใจของผู้เขียนที่จะสะท้อนถึงสิ่งที่ได้จากการตั้งใจเรียนวิชาของอาจารย์อย่างสมบูรณ์แบบ และจะไม่ถามถึงการประเมินคะแนนว่าจะได้รับหรือไม่ ขอเพียงแค่ได้รับการอ่านจากอาจารย์ก็พอแล้ว เป็นต้น การเขียนเช่นนี้จะทำให้อาจารย์รู้สึกถึงความตั้งใจในการเขียนของผู้เรียน และสนใจเนื้อหาของรายงานว่าจะเป็นอย่างไร จึงมีความเป็นไปได้สูงที่อาจารย์จะให้โอกาสส่งรายงานย้อนหลัง
5. อย่าเขียนในเชิงที่เป็นการมัดมือชกอาจารย์ว่า อาจารย์จะต้องรับรายงาน ด้วยการเขียนขอบคุณลงท้าย เพราะการเขียนขอบคุณเท่ากับว่าอาจารย์ได้ยินยอมรับรายงานของเรา
6. ควรเขียนว่าจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก เพื่อแสดงถึงความรู้สึกผิด และตระหนักต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้น 
งั้นเราลองมาดูฉบับที่แก้ไขเปรียบเทียบกันครับ
田中先生


文学部3年のサーヤンと申します。月曜日の先生の講義「応用言語学」を受講させていただいております。← แนะนำตัวเอง ตัดส่วนที่อธิบายลักษณะของตัวเองออกไป แล้วเปลี่ยนเป็นการบอกรายละเอียดของรายวิชาแทน ในกรณีเผื่อว่าอาจารย์ท่านนั้นอาจจะสอนหลายวิชา ก็จะทำให้อาจารย์ตรวจสอบหารายชื่อของเราได้ง่ายขึ้น


この度は病気のため、1月27日の授業を欠席いたし、レポートを期限内に提出できませんでした。大変申し訳ございませんでした。← บอกเหตุผลของการขาดเรียนและส่งรายงานไม่ทันตามกำหนดว่าเกิดจากอาการป่วย (เหมือนเดิม) อันเป็นเหตุสุดวิสัยที่ผู้เรียนไม่ตั้งใจให้เกิดขึ้น และควบคุมไม่ได้จริงๆ นอกจากนี้ยังได้แสดงความขอโทษต่อการส่งงานไม่ตรงกำหนดด้วย


その病気は、日曜日の夜中にお腹を壊し、食中毒のようでした。そこで、その授業に出席できなくなってしまいました。← อธิบายรายละเอียดของอาการเจ็บป่วย (เหมือนเดิม)


理由にかかわらず、締め切りに遅れたのは私の責任です。ただ、先生の講義をいつも真剣に聞かせていただいており、このレポートもその成果を十分に反映させたつもりです。評価の有無は問いませんので、どうか目を通していただけるとありがたく存じます。← ส่วนที่ขีดเส้นใต้แสดงถึงการยอมรับผิดว่าการที่ส่งช้านั้นเป็นความผิดของตนเอง นอกจากนี้ยังใส่ส่วนที่แสดงถึงความกระตือรือร้นอยากจะส่งรายงานเพิ่มเติมเข้าไปอีกด้วย


二度と同じ過ちを繰り返さないよう次回から気をつけます。← เพิ่มส่วนที่จะระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาดแบบนี้ขึ้นอีก เพื่อให้อาจารย์เกิดความประทับใจ และวางใจในตัวผู้เขียน


ご迷惑をおかけして、本当に申し訳ございませんでした。← ก่อนจบ เขียนแสดงความเกรงใจและกล่าวขอโทษอีกครั้ง (เหมือนเดิม)


サーヤン

จะเห็นว่าผมได้เพิ่มเติมส่วนที่ควรมีลงไป จึงทำให้ภาพรวมของเมล์นี้มีความสำนึกผิดและพิจารณาตัวเองมากยิ่งขึ้น อันจะทำให้อาจารย์ผู้ได้อ่านเกิดความเห็นใจและอาจจะให้โอกาสส่งรายงานย้อนหลังมากยิ่งขึ้น แต่ก็มีส่วนที่ผมไม่ได้เพิ่มเติมลงไปคือ ส่วนที่แสดงถึงความพยายาม เพราะเนื่องจากป่วยเป็นอาหารเป็นพิษ จึงไม่น่ามีแรงที่จะพยายามทำอะไรได้ เลยไม่ได้เพิ่มเติมส่วนนี้เข้าไป

จากการฝึกเขียน task นี้ ก็ได้ทำให้ผมเรียนรู้เทคนิคการเขียนเมล์ขอโทษที่มีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต เพราะอาจจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ก็เป็นได้ การเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ไว้ ก็ถือเป็นประโยชน์อย่างมากครับ ยังไงผู้อ่านก็ลองร่างๆเขียนๆดูนะครับ เผื่อสักวันอาจจะได้ใช้บ้าง

แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปนะครับ อย่าลืมนะครับว่ายังมีอีเมล์อีกประเภทหนึ่งรออยู่ แล้วเจอกันครับผม =)

วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

task4_guitarist

สวัสดีปีใหม่ สุขสันต์วันตรุษจีน สุขสันต์วันวาเลนไทน์ วันมาฆบูชาสวัสดีนะครับคุณผู้อ่านที่รักทุกท่าน
กลับมาอีกครั้งหลังจากห่างหายไปเดือนกว่าๆ แต่กลับมาคราวนี้ผมมี task มาฝากคุณผู้อ่านถึง 3 task ด้วยกัน ซึ่งทั้ง 3 task ที่ว่าจะเป็นการฝึกเขียนอีเมล์ประเภทต่างๆ ถ้าอยากรู้ว่ามีประเภทไหนบ้าง ก็ตามมาเลยครับ

มาเริ่มที่ task แรกหลังจากเปิดศักราชใหม่ task นี้เป็นการฝึกเขียนอีเมล์ขอความกรุณา หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า お願いのメール หรือ 依頼のメールการทำ task นี้ เริ่มจากคำสั่งที่ว่า "เราเป็นคนที่ชอบเล่นกีต้าร์ฟลาเมงโก้ (フラメンコギター)โดยมีพื้นฐานเรียนมา 5 ปี วันหนึ่งเปิดไปที่หน้าเว็บของอาจารย์ยามะอุจิ (山内) ผู้โด่งดัง ซึ่งลงประกาศรับสอนกีต้าร์ตัวต่อตัว หากสนใจให้อีเมล์หรือโทรศัพท์ไปถาม" เราซึ่งต้องการสมัครเรียนกีต้าร์กับอาจารย์ท่านนี้เลยต้องเขียนอีเมล์ไปหาเขา

จากการลองเขียนครั้งแรกในห้อง ก็มีทั้งจุดที่ใช้ไม่ได้และจุดที่ควรเพิ่มเติมประมาณนี้ครับ
1. ในการขึ้นต้นอีเมล์ ไม่ต้องใส่ へ หลังชื่อผู้รับโดยเฉพาะกับผู้ใหญ่หรืออาจารย์ ห้ามใส่โดยเด็ดขาด เพราะหากใส่ จะให้ความรู้สึกว่าเป็นคนสนิท หรือเป็นอีเมล์ที่ไม่เป็นทางการ ในกรณีนี้ที่ผู้รับเป็นอาจารย์ผู้โด่งดัง ให้ใส่ 先生 หรือ 様 หลังชื่อจะดีกว่า さん ส่วนการลงท้ายอีเมล์ ก็ไม่ต้องใส่ より หลังชื่อผู้ส่ง
2. แนะนำตัวเอง บอกข้อมูลที่จำเป็นต่อเรื่องที่จะพูด ไม่มากไปหรือน้อยไป ในที่นี่พูดถึงเรื่องสมัครเรียนกีต้าร์ ดังนั้นจึงควรให้ข้อมูลกับผู้สอนว่า ตัวเองมีประสบการณ์มามากน้อยเท่าไหร่ และอยากจะเรียนไปเืพื่ออะไร เพื่อที่ผู้สอนจะได้นำข้อมูลส่วนนี้ไปออกแบบการสอนที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้ถูกต้อง
3. ควรถามให้ชัดเจนว่าอยากรู้อะไร มากกว่าการขอให้ผู้สอนเป็นคนบอกรายละเอียด เพราะมันกว้างมาก และผู้สอนก็อาจจะบอกได้ไม่ตรงกับสิ่งที่เราสงสัยหรือต้องการทราบ เช่น เรื่องของวันเวลาที่จะสอน ค่าใช้จ่ายในการเรียน เป็นต้น แต่ทว่า การถามเวลาที่ผู้สอนสะดวกอาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นทีหลังได้ เช่น เวลาที่ผู้สอนสะดวก เรากลับไม่ว่าง ดังนั้นจึงควรบอกเวลาที่เราว่างไปก่อนจะดีกว่า และถามว่าผู้สอนจะสะดวกมั้ย เป็นต้น การถามแบบนี้จะทำให้ผู้สอนตอบง่ายกว่า และทำให้ผู้เรียนได้ัรับคำตอบที่ต้องการด้วย
4. ไม่จำเ้ป็นต้องพูดถึงเรื่องที่ผู้สอนทราบอยู่แล้ว เช่น การบอกว่ามีประกาศรับสมัครบนหน้าเว็บของอาจารย์ เพราะจะทำให้ดูเยิ่นเย้อ
5. ควรใช้ภาษาสุภาพหรือสำนวนยกย่องถ่อมตนให้ถูกต้ิอง เพื่อแสดงถึงความสุภาพหรือความเคารพที่มีต่อผู้สอน

และนี่คือผลงานของผมที่เขียนแก้ไขใหม่หลังจากรับทราบจุดที่ควรระวัง ลองมาดูกันนะครับ ว่ายังผิดอยู่มั้ย ฮ่าๆๆ

山内修二先生  ← ไม่มี へ ถูกต้องแล้ว

初めましてメールを差し上げるサーヤンと申します。← แนะนำชื่อตัวเองให้อาจารย์รู้จัก ใช้คำถ่อมตนด้วย

先生のホームページにおける「個人レッスンを引き受ける」と書いてある投稿を見て、← ส่วนที่ขีดเส้นใต้ยังเผลอใส่รายละ้เอียดที่อาจารย์ทราบอยู่แล้วไป เยิ่นเย้อ ต้องแก้เป็น → 先生のホームページを見て、ก็พอ 興味があって、ぜひ受けたいと思いました。レッスンを受けさせていただけるかどうかお尋ねしたいと思って、このメールを送ったという次第です。← บอกสาเหตุที่มาของการส่งเมล์มาหาอาจารย์ ให้อาจารย์รับทราบ

私は5年ほどレッスンを受けてきました。将来はフラメンコ舞踊の伴奏家として仕事をしたいと思っておりますので、先生のレッスンを受けさせていただければと思っております。← บอกประสบการณ์และความต้องการให้อาจารย์รับทราบอย่างชัดเจน เพื่อที่อาจารย์จะได้ออกแบบการสอนได้ตรงตามความต้องการ

ただ、私は授業を持っていますので、土曜・日曜しかレッスンに通えません。← บอกเวลาที่สะดวกไปเรียนให้อาจารย์รับทราบ

お手数ですが、レッスンを受けさせていただけるかどうか、お知らせいただけませんでしょうか。日時を指定していただければ、先生のところにご相談に伺わせていただきます。← ขอให้อาจารย์ช่วยแจ้งผลว่าจะรับสอนหรือไม่ โดยขึ้นต้นด้วย お手数ですが เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ และการเสนอให้อาจารย์กำหนดวันเพื่อที่จะนัดพูดคุยรายละเอียดเพิ่มเติม โดยตนจะไปหาถึงที่ แสดงให้เห็นถึงความกระตือรืนร้นในการเรียนกับอาจารย์

お返事は急ぎませんが、どうぞよろしくお願いいたします。← บอกให้อาจารย์ไม่ต้องรีบตอบ เพื่อให้ความรู้สึกว่าไม่ได้บังคับหรือเร่งเร้า

サーヤン ← ไม่ใส่ より ถูำกต้องแล้ว

โดยภาพรวมก็ถือว่าแก้ไขได้ดีขึ้น  แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังเผลอทำผิดอยู่ คือ การบอกข้อมูลที่ผู้รับทราบอยู่แล้ว ตามที่ได้ขีดเส้นไปแล้วข้างต้น ทำให้ดูเยิ่นเย้อ แต่ก็ถือว่าการทำ task นี้ก็ทำให้ทราบถึงรูปแบบการเขียนเมล์ที่เป็นทางการ และการเขียนในเชิงขอร้อง (ขอร้องให้รับสอน) ซึ่งผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์มากในอนาคต

หวังว่าูผู้อ่านก็จะได้ประโยชน์จาก task นี้เช่นกันนะครับ และติดตามอีเมล์ประเภทต่อไปได้ในโพสต์ถัดไปนะครับ ห้ามพลาดเด็ดขาด รับรองว่ามีประโยชน์และใช้ได้จริงอย่างแน่นอนครับ แล้วเจอกันครับ