วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

task4_guitarist

สวัสดีปีใหม่ สุขสันต์วันตรุษจีน สุขสันต์วันวาเลนไทน์ วันมาฆบูชาสวัสดีนะครับคุณผู้อ่านที่รักทุกท่าน
กลับมาอีกครั้งหลังจากห่างหายไปเดือนกว่าๆ แต่กลับมาคราวนี้ผมมี task มาฝากคุณผู้อ่านถึง 3 task ด้วยกัน ซึ่งทั้ง 3 task ที่ว่าจะเป็นการฝึกเขียนอีเมล์ประเภทต่างๆ ถ้าอยากรู้ว่ามีประเภทไหนบ้าง ก็ตามมาเลยครับ

มาเริ่มที่ task แรกหลังจากเปิดศักราชใหม่ task นี้เป็นการฝึกเขียนอีเมล์ขอความกรุณา หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า お願いのメール หรือ 依頼のメールการทำ task นี้ เริ่มจากคำสั่งที่ว่า "เราเป็นคนที่ชอบเล่นกีต้าร์ฟลาเมงโก้ (フラメンコギター)โดยมีพื้นฐานเรียนมา 5 ปี วันหนึ่งเปิดไปที่หน้าเว็บของอาจารย์ยามะอุจิ (山内) ผู้โด่งดัง ซึ่งลงประกาศรับสอนกีต้าร์ตัวต่อตัว หากสนใจให้อีเมล์หรือโทรศัพท์ไปถาม" เราซึ่งต้องการสมัครเรียนกีต้าร์กับอาจารย์ท่านนี้เลยต้องเขียนอีเมล์ไปหาเขา

จากการลองเขียนครั้งแรกในห้อง ก็มีทั้งจุดที่ใช้ไม่ได้และจุดที่ควรเพิ่มเติมประมาณนี้ครับ
1. ในการขึ้นต้นอีเมล์ ไม่ต้องใส่ へ หลังชื่อผู้รับโดยเฉพาะกับผู้ใหญ่หรืออาจารย์ ห้ามใส่โดยเด็ดขาด เพราะหากใส่ จะให้ความรู้สึกว่าเป็นคนสนิท หรือเป็นอีเมล์ที่ไม่เป็นทางการ ในกรณีนี้ที่ผู้รับเป็นอาจารย์ผู้โด่งดัง ให้ใส่ 先生 หรือ 様 หลังชื่อจะดีกว่า さん ส่วนการลงท้ายอีเมล์ ก็ไม่ต้องใส่ より หลังชื่อผู้ส่ง
2. แนะนำตัวเอง บอกข้อมูลที่จำเป็นต่อเรื่องที่จะพูด ไม่มากไปหรือน้อยไป ในที่นี่พูดถึงเรื่องสมัครเรียนกีต้าร์ ดังนั้นจึงควรให้ข้อมูลกับผู้สอนว่า ตัวเองมีประสบการณ์มามากน้อยเท่าไหร่ และอยากจะเรียนไปเืพื่ออะไร เพื่อที่ผู้สอนจะได้นำข้อมูลส่วนนี้ไปออกแบบการสอนที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้ถูกต้อง
3. ควรถามให้ชัดเจนว่าอยากรู้อะไร มากกว่าการขอให้ผู้สอนเป็นคนบอกรายละเอียด เพราะมันกว้างมาก และผู้สอนก็อาจจะบอกได้ไม่ตรงกับสิ่งที่เราสงสัยหรือต้องการทราบ เช่น เรื่องของวันเวลาที่จะสอน ค่าใช้จ่ายในการเรียน เป็นต้น แต่ทว่า การถามเวลาที่ผู้สอนสะดวกอาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นทีหลังได้ เช่น เวลาที่ผู้สอนสะดวก เรากลับไม่ว่าง ดังนั้นจึงควรบอกเวลาที่เราว่างไปก่อนจะดีกว่า และถามว่าผู้สอนจะสะดวกมั้ย เป็นต้น การถามแบบนี้จะทำให้ผู้สอนตอบง่ายกว่า และทำให้ผู้เรียนได้ัรับคำตอบที่ต้องการด้วย
4. ไม่จำเ้ป็นต้องพูดถึงเรื่องที่ผู้สอนทราบอยู่แล้ว เช่น การบอกว่ามีประกาศรับสมัครบนหน้าเว็บของอาจารย์ เพราะจะทำให้ดูเยิ่นเย้อ
5. ควรใช้ภาษาสุภาพหรือสำนวนยกย่องถ่อมตนให้ถูกต้ิอง เพื่อแสดงถึงความสุภาพหรือความเคารพที่มีต่อผู้สอน

และนี่คือผลงานของผมที่เขียนแก้ไขใหม่หลังจากรับทราบจุดที่ควรระวัง ลองมาดูกันนะครับ ว่ายังผิดอยู่มั้ย ฮ่าๆๆ

山内修二先生  ← ไม่มี へ ถูกต้องแล้ว

初めましてメールを差し上げるサーヤンと申します。← แนะนำชื่อตัวเองให้อาจารย์รู้จัก ใช้คำถ่อมตนด้วย

先生のホームページにおける「個人レッスンを引き受ける」と書いてある投稿を見て、← ส่วนที่ขีดเส้นใต้ยังเผลอใส่รายละ้เอียดที่อาจารย์ทราบอยู่แล้วไป เยิ่นเย้อ ต้องแก้เป็น → 先生のホームページを見て、ก็พอ 興味があって、ぜひ受けたいと思いました。レッスンを受けさせていただけるかどうかお尋ねしたいと思って、このメールを送ったという次第です。← บอกสาเหตุที่มาของการส่งเมล์มาหาอาจารย์ ให้อาจารย์รับทราบ

私は5年ほどレッスンを受けてきました。将来はフラメンコ舞踊の伴奏家として仕事をしたいと思っておりますので、先生のレッスンを受けさせていただければと思っております。← บอกประสบการณ์และความต้องการให้อาจารย์รับทราบอย่างชัดเจน เพื่อที่อาจารย์จะได้ออกแบบการสอนได้ตรงตามความต้องการ

ただ、私は授業を持っていますので、土曜・日曜しかレッスンに通えません。← บอกเวลาที่สะดวกไปเรียนให้อาจารย์รับทราบ

お手数ですが、レッスンを受けさせていただけるかどうか、お知らせいただけませんでしょうか。日時を指定していただければ、先生のところにご相談に伺わせていただきます。← ขอให้อาจารย์ช่วยแจ้งผลว่าจะรับสอนหรือไม่ โดยขึ้นต้นด้วย お手数ですが เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ และการเสนอให้อาจารย์กำหนดวันเพื่อที่จะนัดพูดคุยรายละเอียดเพิ่มเติม โดยตนจะไปหาถึงที่ แสดงให้เห็นถึงความกระตือรืนร้นในการเรียนกับอาจารย์

お返事は急ぎませんが、どうぞよろしくお願いいたします。← บอกให้อาจารย์ไม่ต้องรีบตอบ เพื่อให้ความรู้สึกว่าไม่ได้บังคับหรือเร่งเร้า

サーヤン ← ไม่ใส่ より ถูำกต้องแล้ว

โดยภาพรวมก็ถือว่าแก้ไขได้ดีขึ้น  แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังเผลอทำผิดอยู่ คือ การบอกข้อมูลที่ผู้รับทราบอยู่แล้ว ตามที่ได้ขีดเส้นไปแล้วข้างต้น ทำให้ดูเยิ่นเย้อ แต่ก็ถือว่าการทำ task นี้ก็ทำให้ทราบถึงรูปแบบการเขียนเมล์ที่เป็นทางการ และการเขียนในเชิงขอร้อง (ขอร้องให้รับสอน) ซึ่งผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์มากในอนาคต

หวังว่าูผู้อ่านก็จะได้ประโยชน์จาก task นี้เช่นกันนะครับ และติดตามอีเมล์ประเภทต่อไปได้ในโพสต์ถัดไปนะครับ ห้ามพลาดเด็ดขาด รับรองว่ามีประโยชน์และใช้ได้จริงอย่างแน่นอนครับ แล้วเจอกันครับ

1 ความคิดเห็น:

  1. ตอนแรกที่เขียนมีแต่สำนวนผิดๆแปลกๆเหมือนกันเลย
    แต่พอลองศึกษาและได้แก้ดูก็ดีขึ้นเยอะนะ อิอิ

    ตอบลบ