วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

アスペクト6

มาแล้วครับ แบบสำรวจการใช้ アスペクト จาก http://eprints.lib.hokudai.ac.jp/dspace/bitstream/2115/45642/1/BISC008_001.pdf


アッタニーボーン・馬 (2002) は、以下のような例文を作り、日本人に対して調査をおこなった。調査方法は多肢選択の質問紙による調査で、日本人に指定された場面で自分にとって、日本語の文法的に正確な言い方かどうかではなく、最も自然だと思う答えを選択してもらうというものである。対象者は30人である。

การสำรวจนี้ได้ทำกับคนญี่ปุ่น โดยที่วิธีการสำรวจจะใช้กระดาษคำถามที่มีหลายตัวเลือก ในสถานการณ์ที่คนญี่ปุ่นกำหนดให้เลือกตอบโดยที่ไม่เลือกจากความถูกต้องทางไวยากรณ์ แต่เลือกจากความเป็นธรรมชาติมากที่สุด ผู้ทำแบบสำรวจจำนวน 30 คน

ผู้อ่านก็ลองทำไปด้วยกันนะครับ และลองจดคำตอบของตัวเองไว้นะ ว่าจะตรงกับธรรมชาติของคนญี่ปุ่นส่วนมากมากแค่ไหน


あなたは指導教官にどう答えますか。
指導教宮:         先週、勉強会に行った?
学生 :              いえ、行きませんでした。                
いえ、行っていません。    
いえ、行かなかったです。              
いえ、行ってないです。    
2.病院で医者に診察してもらう時、あなたはどう答えますか。
医者     昨日、お酒を飲みましたか。
患者    いえ、飲みませんでした。                                
いえ、飲んでいません。                     
いえ、飲まなかったです。                                
いえ、飲んでないです。                    
新聞記者に話しかけられるとき、あなたはどう答えますか。
新聞記者            ルドカップのフランス大会を見ましたか。
あなた            いえ、見ませんでした。     
いえ、見ていません。           
いえ、見なかったです。     
いえ、見てないです。           
大学の同窓会で会った部活の先輩にどう答えますか。
先輩     君、去年、またインド、に行ったの?
後輩     いえ、行きませんでした。                                
いえ、行っていません。                     
いえ、行かなかったです。                                
いえ、行ってないです。                     
5.あなたは近所の人に聞かれた時、どう答えますか。
近所の人           昨日の夜、石田さんの家でも変な音が聞こえましたか?
あなた            いえ、聞こえませんでした。           
いえ、聞こえていません。                
いえ、聞こえなかったです。           
いえ、聞こえてないです。                
6.あなたは近所の人に聞かれた時、どう答えますか。
近所の人           田中さんはゴールデン・ウィークにいつも海外旅行に行っていますね。今年も行きましたか。
あなた            いえ、行きませんでした。                
いえ、行っていません。     
いえ、行かなかったです。                
いえ、行ってないです。     
あなたは修学旅行で東京から新幹線で京都へ行きました。バスの中でガイドさんと話して、あなたはガイドさんの質問にどう答えますか。
ガイド                今朝、新幹線で富士山のそばを通ったんですね。富士山、見えましたか?
あなた                いえ、見えませんでした。                                
        いえ、見えていません。                     
        いえ、見えなかったです。                                
        いえ、見えてないです。                     
8新聞記者に話しかけられたとき、あなたはどう答えますか。
新聞記者           ワールド力ッブの試合、見ましたか。
あなた            いえ、見ませんでした。     
いえ、見ていません。           
いえ、見なかったです。     
いえ、見てないです。           
先週の授業について、一緒に授業を受けている大学の先輩に話しかけられました。あなたはどう答えますか。
先輩     先週の山田先生の授業、分かった?
後輩     いえ、分かりませんでした。                           
いえ、分かっていません。                                
いえ、分からなかったです。                           
いえ、分かってないです。                                
10.客室乗務員の水泳試験で、知り合った木村さんと話しています。あなたは木村さんにどう答えますか。
木村     中野さん、水泳すごく上手ですね。小さいときに既に、水永が出来たんですか?
あなた                いえ、できませんでした。                         
        いえ、できていません。                     
        いえ、できなかったです。                                
        いえ、できてないです。                                   

เป็นยังไงบ้างครับ ลองทำแล้วรู้สึกว่าไงบ้าง ยากไป ง่ายไป หรือรู้สึกว่ามันน่าจะเป็นไปได้ทั้งหมดเลย ยังไงเราลองมาดูผลสำรวจกันนะครับว่า ในแต่ละข้อ คนญี่ปุ่นเลือกตอบแบบไหนมากที่สุด

สีแดง = มีคนเลือกตอบมากที่สุด
สีเหลือง = ผมเลือกตอบ ถ้าเลือกตอบเหมือนข้อที่มีคนเลือกมากที่สุด จะมีเพียงแค่สีแดง
สีฟ้า = เท่ากับอีกข้อนึงที่เป็นตัวเลือกที่มีคนตอบมากที่สุดเหมือนกัน

1.  あなたは指導教官にどう答えますか。
指導教宮:         先週、勉強会に行った?
学生 :              いえ、行きませんでした。                14
いえ、行っていません。                    5
いえ、行かなかったです。                4
いえ、行ってないです。                    7

เนื่องจากการตอบคำถามที่ว่าไปหรือไม่ในอดีต มีคำตอบแค่ว่าไป กับไม่ไป ซึ่งทั้งสองคำตอบล้วนไม่มีผลสืบเนื่องถึงปัจจุบัน จึงไม่ใช้รูป ている

2.  病院で医者に診察してもらう時、あなたはどう答えますか。
医者     昨日、お酒を飲みましたか。
患者    いえ、飲みませんでした。                            9
いえ、飲んでいません。                                10
いえ、飲まなかったです。                             2
いえ、飲んでないです。                                 9

สาเหตุที่ผมเลือกตอบ 飲まなかった เนื่องจากเห็นว่ามีการระบุจุดเวลาในอดีต 昨日 มาด้วย จึงรู้สึกว่าเป็นการถามเฉพาะการกระทำในอดีต แต่เมื่อดูจากผลสำรวจที่เลือก 飲んでいない มากที่สุด อาจเป็นเพราะผู้ตอบต้องการสื่อว่าไม่ได้ดื่มตั้งแต่เมื่อวานจนกระทั่งตอนนี้ เป็นการกระทำสืบเนื่องถึงปัจจุบัน เลยใช้รูป ている

新聞記者に話しかけられるとき、あなたはどう答えますか。
新聞記者            ルドカップのフランス大会を見ましたか。
あなた            いえ、見ませんでした。         6
いえ、見ていません。             6
いえ、見なかったです。      6
いえ、見てないです。           12

เนื่องจากถามว่าได้ดูเวิร์ลคัพหรือไม่ ซึ่งคาดว่าการแข่งขันยังไม่จบ ดังนั้นผู้ตอบจึงน่าจะตอบว่า ย้ังไม่ได้ดู 見ていない มากกว่าจะบอกว่า ไม่ได้ดู 見なかった ซึ่งจะต้องเป็นเวลาหลังจากที่การแข่งขันจบไปแล้ว

大学の同窓会で会った部活の先輩にどう答えますか。
先輩     君、去年、またインド、に行ったの?
後輩     いえ、行きませんでした。                6
いえ、行っていません。                     4
いえ、行かなかったです。                 19
いえ、行ってないです。                     1

ที่ผมเลือก 行ってない เพราะต้องการตอบว่า ยังไม่ได้ไป แต่ในความคิดของคนญี่ปุ่น อาจจะมีแค่คำตอบว่า ได้ไป 行った  กับไม่ได้ไป 行かなかった

5.あなたは近所の人に聞かれた時、どう答えますか。
近所の人           昨日の夜、石田さんの家でも変な音が聞こえましたか?
あなた           いえ、聞こえませんでした。             9
いえ、聞こえていません。                2
いえ、聞こえなかったです。           18
いえ、聞こえてないです。                1

เนื่องจาก 聞こえる เป็นกริยาฉับพลัน เมื่อถูกถามเหตุการณ์ในอดีต จะไม่ใช้รูป ている

6.あなたは近所の人に聞かれた時、どう答えますか。
近所の人           田中さんはゴールデン・ウィークにいつも海外旅行に行っていますね。今年も行きましたか。
あなた           いえ、行きませんでした。                12
いえ、行っていません。                   6
いえ、行かなかったです。                7
いえ、行ってないです。                   5

ในข้อนี้ผมคิดว่า น่าจะตอบว่า ได้ไป หรือไม่ได้ไป มากกว่าจะตอบว่ายังไม่ได้ไป เลยไม่ได้เลือก 行っていない เหมือนในข้อ 4

あなたは修学旅行で東京から新幹線で京都へ行きました。バスの中でガイドさんと話して、あなたはガイドさんの質問にどう答えますか。
ガイド                今朝、新幹線で富士山のそばを通ったんですね。富士山、見えましたか?
あなた                いえ、見えませんでした。                 16
         いえ、見えていません。                     2
         いえ、見えなかったです。                 11
         いえ、見えてないです。                     1

เนื่องจาก 見える เป็นกริยาฉับพลันเช่นเดียวกับ 聞こえる เมื่อถูกถามเหตุการณ์ในอดีต จึงไม่ใช้รูป ている

8新聞記者に話しかけられたとき、あなたはどう答えますか。
新聞記者           ワールド力ッブの試合、見ましたか。
あなた            いえ、見ませんでした。       9
いえ、見ていません。           9
いえ、見なかったです。       6
いえ、見てないです。           6

ที่ตอบทั้ง 見なかった และ 見ていない อาจจะเป็นเพราะการตีความเรื่องเวลาคนถามต่างกัน ถ้าตอบว่า 見なかった แปลว่า คนตอบคิดว่าผู้ถาม ถามตนตอนที่การแข่งขันได้สิ้นสุดไปแล้ว ส่วนคนที่เลือกตอบว่า 見ていない แปลว่าคนตอบคิดว่าผู้ถาม ถามตนในช่วงที่การแข่งขันยังดำเนินอยู่ แต่ยังไม่ได้ดู

先週の授業について、一緒に授業を受けている大学の先輩に話しかけられました。あなたはどう答えますか。
先輩     先週の山田先生の授業、分かった?
後輩     いえ、分かりませんでした。                           8
いえ、分かっていません。                                0
いえ、分からなかったです。                           21
いえ、分かってないです。                                1

分かる เป็นกริยาแสดงความสามารถ บอกสภาพอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ ている ยกเว้นต้องการจะสื่อว่า ก็เข้าใจอยู่ จะใช้ 分かっている แต่ในที่นี้ต้องการสื่อว่า ไม่เข้าใจในอดีต จึงใช้เป็น 分からなかった

10.客室乗務員の水泳試験で、知り合った木村さんと話しています。あなたは木村さんにどう答えますか。
木村     中野さん、水泳すごく上手ですね。小さいときに既に、水永が出来たんですか?
あなた                いえ、できませんでした。                 14
         いえ、できていません。                     0
         いえ、できなかったです。                 14
         いえ、できてないです。                     2            

できる ก็เป็นกริยาที่แสดงความสามารถ บอกสภาพ เช่นเดียวกับ 分かる จึงไม่จำเป็นต้องใช้รูป ている แต่ที่ผมเลือก できていない ไปอาจจะเป็นเพราะความสับสนตอนที่ทำ

เป็นยังไงบ้างครับ ผู้อ่านเลือกคำตอบที่เป็นธรรมชาติใกล้เคียงกับคนญี่ปุ่นส่วนมากรึเปล่าครับ ผมเองก็ยังทำได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก นี่แสดงให้เห็นว่าเรื่อง アスペクト ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่ขจะเรียนรู้ เข้าใจหลักแล้วจะใช้ได้เลย แต่ต้องเกิดจากการหัดใช้บ่อยๆ สังเกตการใช้จากเจ้าของภาษา จนเกิดความคุ้นเคยและทักษะ
และในอีกไม่กี่วัน ผมก็จะเดินทางไปแลกเปลี่ยนที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 1 ปีแล้วครับ ยังไงผมก็จะไปเก็บเกี่ยวความรู้ทางด้านภาษาและวัฒนธรรมอย่างเต็มที่เลยครับ ถ้าผมได้ข้อมูลหรือเกร็ดที่น่าสนใจเกี่ยวกับ アスペクト หรือหัวข้อทางภาษาอื่นๆที่น่าสนใจ ผมสัญญานะครับว่าจะเอามาลงบล็อกให้ผู้อ่านได้อ่านกันอย่างแน่นอนครับ
สุดท้ายนี้ ผมขอขอบคุณทุกคนมากที่เข้ามาอ่าน และติดตามบล็อกของผม ถ้ามีข้อสงสัยหรือติชมอะไรก็สามารถคอมเม้นท์ไว้ได้เลยนะครับ ยินดีรับฟังทุกข้อคิดเห็นครับ แล้วเจอกันใหม่ครับ

วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

アスペクト5

ตามที่สัญญาไว้นะครับว่าผมจะเอางานเขียนของผมที่เคยโดนแก้เกี่ยวกับเรื่อง アスペクト มาให้ดูกัน มาดูกันนะครับว่าผมผิดตรงไหน ผิดเพราะอะไร แล้วควรจะแก้ไขอย่างไร

เริ่มด้วยงานชิ้นแรก เป็นงานเขียนบทพูดบรรยายประกอบสารคดีวิชา Jap conver โดยหัวข้อสารคดีที่กลุ่มของผมทำก็คือ เรื่องกระเป๋็าจาค็อบ กระเป๋านักเรียนทรงสี่เหลี่ยนผืนผ้าทำจากหนังสีดำมีลักษณะแบนๆ ที่เป็นที่นิยมของเด็กวัยรุ่นไทยมาหลายปี โดยจะขอตัดเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับ アスペクト มาให้ดูกันนะครับ

学校までぺちゃんこなジャーコッブを持って行く生徒たちの姿はタイ人には見慣れる→見慣れた光景です。ตอนแรกที่ใช้เป็นรูป る อาจจะเป็นเพราะเห็นว่า テンス ที่ใช้ในประโยคนี้เป็นแบบไม่อดีต เลยทำให้คิดว่าส่วนขยายหน้านามก็ไม่เป็นอดีตด้วย แต่ที่ต้องแก้เป็น た เพราะต้องการสื่อความหมายว่าเป็นภาพที่คุ้นตาคนไทยไปแล้ว


今までジャーコッブはタイの生徒、特に、バンコクにおける生徒たちの生活の一部になりました→なっています。なる เป็นกริยาที่แสดงการเปลี่ยนแปลง ตามหลักแล้วก็สามารถเขียนได้ทั้งรูป た และ ている แต่ที่ถูกแก้ให้เป็นรูป ている ก็เพราะคำว่า 今まで ที่สะท้อนถึงความต่อเนื่องถึงปัจจุบัน สภาพที่ยังเป็นอยู่ในปัจจุบัน จึงควรใช้ ている มากกว่า

昔、ジャーコッブは裕福でかっこいい学生達の象徴だ→だったと分かります。ตอนแรกที่ไม่ทำเป็นอดีตเพราะติด テンス ของประโยคที่ไม่เป็นอดีต แต่ที่ต้องเปลี่ยนเป็น だった ก็เพราะว่ามันเป็นเรื่องในอดีต มีคำว่า 昔 บอกจุดเวลาในอดีตอยู่นั่นเอง

でも、昔のジャーコッブは学生かばんとして使われていて、現在のように紙以外何も入れられないほどぺちゃんこにされたかばんではありません→ではありませんでした。ที่ตอนแรกใช้เป็นรูปไม่อดีต อาจเป็นเพราะสับสนกับคำว่า 現在のように แต่ที่จริงแล้วประธานของประโยคนี้คือ 昔の...ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนมาใช้รูปอดีต

どうして、現在の学生達はジャーコッブをぺちゃんこにした→してしまったでしょう。เพราะถ้าเปลี่ยนเป็น してしまった จะให้ความรู้สึกว่า ทำไมถึงเปลี่ยนไปเป็นแบบนี้ได้ กล่าวคือ แต่เดิมไม่คิดว่ากระเป๋าจาค็อบจะต้องถูกทำให้แบนอย่างนี้ แต่ปัจจุบันมันกลายเป็นแบบนี้ไปได้ยังไง ซึ่งจะตรงกับสิ่งที่ต้องการสื่อมากกว่า


ジャーコッブは変わらずにタイの学生たちから高い人気を得る→得ている学生鞄です。เนื่องจากเป็นสภาพที่สืบเนื่องมาเรื่อยๆว่า จาค็อบเป็นกระเป๋านักเรียนที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด จึงควรใช้รูป ている มากกว่า

ส่วนงานอีกชิ้นนึงเป็นงานเขียนรายงานวิชา Jap writing ในหัวข้อ 生涯未婚率 (อัตราการโสดตลอดชีพ) ซึ่งมีจุดที่ใช้ アスペクト ผิดคือ

その結果、独身女性は徐々に増え、「生涯未婚者」も増えてきた→増えてきていると思われる。โดยได้รับคอมเม้นท์จากคนญี่ปุ่นดังนี้

「増えてきた」は、これまでのことを言っているだけで、これからのことについては述べないという言い方です。これからのことも言いたいときは、「増えてきている」というのがいいです。

「増えてきた」ใช้พูดเรื่องที่มาถึงตอนนี้ เป็นการพูดที่ไม่กล่าวถึงเรื่องต่อจากนี้ (อนาคต) เวลาที่อยากจะพูดเรื่องต่อจากนี้ด้วย ก็น่าจะใช้ 「増えてきている」

ก็ถือว่าเป็นความรู้ใหม่ เนื่องจากปกติเรามักจะใช้คำแสดงการเปลี่ยนแปลงเพิ่ม-ลด โดยมีรูปแบบที่จดจำมาคือ だんだん...増えてきた。กับ これからも...増えていく。แต่เนื่องจากในบริบทนี้ต้องการสื่อว่ามันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเ้น้นความต่อเนื่องถึงปัจจุบันที่กำลังดำเนินอยู่ จึงไม่ใช่ てきた ที่จะให้ความรู้สึกตัดจบ ณ ปัจจุบัน ไม่ได้มองสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจบันประกอบ

จากการสังเกตข้อผิดพลาดของตัวเอง ก็ทำให้สรุปคร่าวๆได้ว่า เรามักจะเลือกใช้ アスペクト ของประโยคย่อยตาม テンス ของประโยคใหญ่ หรือบางครั้งก็ใช้โดยที่ไม่ได้ใส่ใจรายละเอียดเรื่องของเวลาว่าเป็นอดีตหรือปัจจุบันให้ดีเสียก่อน หรือไม่ก็ใช้เพราะความเคยชิน ตามรูปแบบที่เคยเรียนมา ดังนั้นเมื่อทราบข้อพลาดของตัวเองแล้ว ก็จะนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไปครับ 
ในครั้งหน้าผมจะนำแบบทดสอบเรื่อง アスペクト มาให้ผู้อ่านลองทำกันดูนะครับ ห้ามพลาดนะครับ

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

アスペクト3

เรามาดู アスペクト อื่นๆกันต่อดีกว่าครับ ครั้งนี้ผมได้ข้อมูลมาจาก http://www.koryu.or.jp/taipei/ez3_contents.nsf/15aef977a6d6761f49256de4002084ae/d6adae25e970b458492579df0029e9a6/$FILE/KobayashiPowerPoint.pdf เขาได้พูดถึงเรื่อง アスペクト ไว้ดังนี้

方向を伴う動詞   คำกริยาที่บอกทิศทาง เช่น
電話をかけた โทรศัพท์ (ไป)

利益を受けたとき  เวลาที่ได้รับผลประโยชน์
ก็จะใช้ 電話をかけてくれた หรือ 電話をかけてもらった
X?電話をかけてきた

不利益をうけたとき เวลาที่ได้รับความเดือดร้อน
ก็จะใช้ 電話をかけてきた หรือ 電話をかけられた (รูปถูกกระทำ)

相手に利益を与えることを申し出るとき เวลาเสนอความช่วยเหลือ
จะใช้ 電話をかけます 
?電話をかけてあげます ส่วนรูป ~てあげる มักจะใช้กับคนที่ต่ำกว่า สัตว์ หรือพืช หากใช้กับคนที่เท่ากันหรือสูงกว่า จะให้ความรู้สึกว่าเป็นบุญคุณต่อกัน และดูเสียมารยาท

不利益を与えてあやまるとき เวลาขอโทษต่อการกระทำที่เราทำให้อีกฝ่ายเดือดร้อน
夜遅く、電話をかけて、すみません 
X 1) すみません、皿が落ちて、割れてしまいました。การขอโทษต้องเกิดจากเรื่องที่เรากระืำทำ จะใช้ 自動詞 ไม่ได้
2)すみません、皿を落として、割ってしまいました。

方向を伴わない動詞 คำกริยาที่ไม่บอกทิศทาง

利益を与えたとき เวลาที่ให้ผลประโยชน์
荷物を持った
荷物を持ってあげた

利益を与えることを申し出るとき เวลาที่จะเสนอความช่วยเหลือ
お持ちします
×?お持ちしてさしあげます
持ってあげる

จากบทความนี้ก็จะเห็นได้ว่า นอกจาก アスペクト ที่บอกการเริ่มต้น การดำเนินอยู่ และการสิ้นสุดแล้ว ยังมี アスペクト ที่บอกทิศทางอย่าง ~てあげる、~てくれる、~てもらう อีกด้วย ซึ่งการเลือกใช้ก็จะขึ้นอยู่กับประธานว่าจะเอาใครเป็นประธาน คู่สนทนาเป็นใคร มีสถานะสูงหรือต่ำกว่าผู้พูด และลักษณะของคำกริยานั้นๆว่าเป็นกริยาที่บอกทิศทางหรือไม่บอกทิศทาง ดังนั้นก่อนจะใช้ アスペクト จึงต้องมีความเข้าใจและรู้จักหลักการเลือกใช้ให้ถูกต้องเสียก่อน

วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

アスペクト4

ต่อไปเรามาลองดูสำนวน アスペクト ที่ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยใช้กันนะครับ ข้อมูลจาก http://jpforlife.jp/pdf/pr_01-16_thas1.pdf ครับ

タイ人日本語学習者のアスペクト表現

(1)patcubannii aayu chalia khOOng khon thii suup burii tamlong
ปัจจุบันนี้อายุเฉลี่ยของคนที่สูบบุหรี่ต่ำลง
最近たばこを吸う人の平均年齢が下がります。 เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องปัจจุบัน เลยใช้รูปไม่อดีต แต่ที่ถูกต้องแล้วจะต้องใ้ช้ <下がりました/下がっています> เนื่องจากกริยา ต่ำลง 下がる เป็นกริยาแสดงการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเมื่อจะบอกว่าบางสิ่งกำลังต่ำลง ต้องใช้รูปอดีต (ต่ำลงแล้ว) หรือ ている เพื่อแสดงสภาพ

(2) tEEkOOn khon numsaaw ca suup burii kOO phUa hay pen phuuyay
phuuchaay kOO ca suup phUa khlaay khwaam khriat lang lAAk ngaan 
suan phuuying kOO ca suup phUa yUUnyan khwaam samAAphaak khOOng phuuchaay phuuying
แต่ก่อนคนหนุ่มสาวจะสูบบุหรี่ก็เพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ ผู้ชายก็ขะสูบเพื่อคลายความเครียดหลังเลิกงาน ส่วนผู้หญิงก็จะสูบเพื่อยืนยันความเสมอภาพของผู้ชายผู้หญิง
以前は大人の証明として、たばこを吸い、男性は仕事を終えた後の緊張をゆるめ、女性は喫煙によって男女平等を確認する。 
เนื่องจากเป็นเรื่องในอดีต เลยควรจะต้องใช้เป็นรูปอดีต เช่น <主張した/主張していた> มากกว่า
(3)nay samaykOOn suanmaak lEEw phOOmEE ca pen phuu thii catkaan rUang kaan tEngngaan
ในสมัยก่อนส่วนมากแล้วพ่อแม่จะเป็นผู้ที่คัดค้านเรื่องการแต่งงาน
、たいてい両親は結婚式を経営する。
เช่นเดียวกับข้อที่แล้ว เนื่องจากเป็นเรื่องในอดีต จึงควรใช้เป็นรูปอดีต <取り仕切った/取り仕切っていた> 
(4)patcuban khon suupburii lE khon thii siachiiwit nUangcaak kaan suup burii mii maak khUn rUayrUay
ปัจจุบันคนสูบบุหรี่และคนที่เสียชีวิตเนื่องจากการสูบบุหรี่มีมากขึ้นเรื่อยๆ
現在、たばこを吸う人とたばこを吸うことで死んでいる人はだん々増えてきます。 
เช่นเดียวกับข้อ 1 กริยา มากขึ้น 増える เป็นกริยาแสดงการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเมื่อจะบอกว่าบางสิ่งกำลังเพิ่มขึ้น ต้องใช้รูปอดีต (เพิ่มขึ้นแล้ว) หรือ ている เพื่อแสดงสภาพ เป็น < 増えてきている/増えてきた> 

(5)nOOkcaaknan nay samaykOOn naywannii yang pen wan thii numsaaw natphop kan
นอกจากนั้นในสมัยก่อนในวันนี้ยังเป็นวันที่หนุ่มสาวนัดพบกัน
また、はこの日も男は女と合って約束をします。 เช่นเดียวกับข้อ 2 และ 3 เนื่องจากเป็นเรื่องในอดีต เลยควรจะต้องใช้เป็นรูปอดีต <デートをした> 

 例(1)~(5)を見てわかるように、設定時点が現在でも過去でも、タイ人学習者は「る」形を
使用する。日本語では「る」形が「現在」の意味の他に「未来」の意味を持っていることと、
「完成性」と「継続性」のアスペクト的対立があることと、形式による「未来」と「過去」の
テンス的対立があることに対する学習者の認識が不十分であったようである。タイ語は日本語
のように形態的形式が鮮明に現れていないからであろう。

สิ่งที่สะท้อนจากตัวอย่าง 1 - 5 คือไม่ว่าจะเป็นเวลาปัจจุบันหรืออดีต ผู้เรียนชาวไทยมักจะใช้รูป る เลยดูเหมือนว่าคนไทยจะมีการรับรู้เรื่องรูป る ที่มีความหมายทั้งในปัจจุบันและอนาคต ความขัดแย้งทาง アスペクト ระหว่าง การเสร็จสมบูรณ์ กับ การกระทำอย่างต่อเนื่อง ความขัดแย้งทาง テンス อนาคตและอดีตที่ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะภาษาไทยไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน
  
(6)patcuban kaan suup burii klaay pen fEEchan
ปัจจุบันการสูบบุหรี่กลายเป็นแฟชั่น
また、たばこを吸うのは流行になります。 ผิดตรงที่ หากใช้ なる จะให้ความหมายว่าจะเป็น (ตอนนี้ยังไม่เป็น) ดังนั้นหากต้องการบอกสภาพปัจจุบันจึงควรใช้รูป ている เป็น  <流行になっています> 

(7)panhaa burii mayday kAAt khEE thii yiipun tEE kAAtkhUn thualook
ปัญหาบุหรี่ไม่ได้เกิดแค่ที่ญี่ปุ่นแต่เกิดขึ้นทั่วโลก
たばこの問題は日本だけでなく、世界中も起こります。เช่นเดียวกับข้อที่แล้ว 起こる
 แปลว่า จะเกิดขึ้น (ยังไม่เกิดขึ้น) ดังนั้นหากต้องการบอกสภาพปัจจุบันจึงควรใช้รูป ている เป็น <起こっています> 

(8)chen kaan thii plian pay chay watsadu thii mayday tham caak thammachaat
เช่นการที่เปลี่ยนไปใช้วัสดุที่ไม่ได้ทำจากธรรมชาติ
例えば、クラトンは自然から作らないものを替わります。หากใช้ 替わる จะมีความหมายว่า จะเปลี่ยน (ยังไม่ได้เปลี่ยน) ซึ่งเมื่อดูจากบริบทแล้ว ใจความต้องการสื่อว่าในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้...แล้ว และเนื่องจาก 替わる เป็นกริยาที่แสดงการเปลี่ยนแปลง ก็จะสามารถใช้ได้สองแบบคือ ใช้ た เพื่อบอกว่ามันได้เปลี่ยนไปแล้วกับ ている เพื่อบอกว่ามันเปลี่ยนมาแล้วและยังคงเป็นอย่างนั้นอยู่ <替わりました/替わっています>  

 例(6)~(8)においても、やはり動詞の「る」や「ます」形が使われている。日本語では、
これらの動詞は語彙的意味として変化動詞であるが、実現の変化状態まで含めていない。実現
した変化状態を表すには、「ている」形に変える必要がある。しかし、タイ語では変化動詞は
動詞の原形のままで、または VV 形式で変化した状態を表すことができる。

ในตัวอย่างที่ 6-8 รูป る หรือ ます ก็ถูกใช้อย่างที่คิด ในภาษาญี่ปุ่น คำกริยาเหล่านี้ (พวกรูป る หรือ ます) ในทางความหมายจะเป็นกริยาที่แสดงการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ใช่การบอกสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริง หากจะบอกสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริง จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนเป็นรูป ている แต่ในภาษาไทยสามารถใช้กริยาที่แสดงการเปลี่ยนแปลงทั้งๆอย่างนั้น อีกทั้งยังใช้กริยาเรียงต่อกันเพื่อแสดงสภาพที่เปลี่ยนแปลง 

(9)tua dichan eeng tOOn yuu pii nUng kOO khAAy ruamngaan rapnOOng mUankan dangnan cUng saap  pen yaang dii waa khwaam ruusUk tOOn thii khaw ruam pen yaangray lE ngaannii mii khwaam  samkhan maak phiangday
ตัวดิฉันเองตอนอยู่ปีหนึ่งก็เคยร่วมงานรับน้องเหมือนกัน ดังนั้นจึงทราบเป็นอย่างดีว่าความรู้สึกตอนที่เข้าร่วมเป็นอย่างไร และงานนี้มีความสำคัญมากเพียงใด
私も一年生の時、ラップノーンに参加したことがありますから、どんな気持ちになったか、どんなに大事なことかをよく分かりました。 
例(9)では「分かる」という動詞は「た」形で用いられるが、話者は発話時点において「わか
らない状態」から「わかる状態」に変化したという意味を伝えたいのではなく、発話時点の前、
つまり過去の時点において「わかった」状態に変化し、今もその状態が続いているということ
を伝えたいのである。その場合、日本語では「た」形ではなく、「ている」形を用いるべきで
ある。

ในตัวอย่างที่ 9 กริยา 分かる ถูกใช้ด้วยรูป た แต่ผู้พูดไม่ได้ต้องการจะสื่อว่าในขณะที่พูดอยู่นั้นได้เปลี่ยนจากสภาพไม่ทราบเป็นทราบ แต่ต้องการจะสื่อว่าได้ทราบไปแล้วในจุดเวลาในอดีตซึ่งก็คือก่อนจุดเวลาที่พูด และต้องการสื่อว่าสภาพเข้าใจนั้นก็ยังคงดำเนินมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน ในกรณีดังกล่าว ภาษาญี่ปุ่นจะไม่ใช้รูป た แต่ควรจะใช้รูป ている เป็น <分かっている>

(10) kaan thii dek yaak lOOng suup burii nan chan khit waa may khUn yuu kap itthiphon caak thoorathat thammay na rUU kOO phrO waa chan eeng kOO khAAy mii prasopkaan maa kOOn
การที่เด็กอยากลองสูบบุหรี่นั้นฉันคิดว่าไม่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลจากโทรทัศน์ ทำไมน่ะเหรอ ก็เพราะว่าฉันเองก็เคยมีประสบการณ์มาก่อน
子供がたばこを吸ってみたいのはテレビの影響によるとは言えません。なぜなら、 自分も体験しましたからです。

例(10)でも「た」形が用いられている。タイ語訳では、「自分の体験に基づいて考えると、テ
レビの影響により子供がタバコを吸いたくなるということではない」という内容を伝えたかっ
たわけである。日本語では、このように「た」形を用いると、過去の時点に限定した体験とし
て動作・変化が起きたという意味にしかとれない。「昔の体験」が現在においても記憶として
残っているという意味を表すには「ている」形を使わなければならない。

ในตัวอย่างที่ 10 ก็ใช้รูป たเช่นกัน ในการแปลเป็นภาษาไทย ก็คงจะต้องการสื่อความว่า เมื่อคิดจากประสบการณ์ของตัวเองเป็นพื้นฐาน อิทธิพลจากโทรทัศน์ไม่ได้ทำให้เด็กอยากสูบบุหรี่ ส่วนในภาษาญี่ปุ่น หากใช้ た จะเป็นประสบการณ์ที่จำกัดในจุดเวลาในอดีต จะมีความหมายเพียงแค่การกระทำหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หากจะสื่อความหมายว่า ประสบการณ์ในอดีตที่ปัจจุบันก็ยังคงจำได้ หลงเหลืออยู่ในความทรงจำ ต้องใช้เป็นรูป ている เป็น <体験している>

 これらの誤用例から、動詞の性質と「パーフェクト性」の「ている」の用法がまだ正確に
捉えられていない学習者がいることが伺える。

จากตัวอย่างที่ผิดเหล่านี้ ทำให้ทราบว่ายังมีผู้เรียนที่ไม่สามารถจับลักษณะของคำกริยาและหลักการใช้ ている ในความเป็น Perfect ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

(11) prapheenii nii chUa kan waa rap maa caak india
ประเพณีนี้เชื่อกันว่ารับมาจากอินเดีย
この行事はインドの文化をもらって信じられます。 เนื่องจากเป็นความเชื่อที่มีอยู่ในสังคม จึงควรใช้รูป ている เพื่อบอกสภาพ มากกว่าการใช้รูป る ที่จะแสดงถึงการกระทำที่ยังไม่เกิด <信じられている> 

(12) klaaw kan waa mii maa tangtEE samay sukhoothay lEEw
กล่าวกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว
スコータイ時代からあると言われました。 ถึงแม้จะเป็นคำพูดที่พูดถึงเรื่องราวที่มีมาแต่อดีต แต่คำพูดดังกล่าวก็ยังคงถูกพูดสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน จึงไม่ใช้รูป た และควรใช้เป็นรูป ている เพื่อบอกสภาพเป็น <言われている> 

(13) nay samaykOOn mii khwaam chUa kan waa thaa may saat naam kan lEEw pii nan naam ca khaat  khlEEn
ในสมัยก่อน มีความเชื่อกันว่า ถ้าไม่สาดน้ำกันแล้ว ปีนั้นน้ำจะขาดแคลน
ところで、昔、人々がお互いに水をかけなかったら、その年は水飢饉になると信じられました。 ข้อนี้จะแตกต่างจากข้อที่แล้วตรงที่ความเชื่อดังกล่าวเป็นความเชื่อในอดีต ซึ่งปัจจุบันไม่ได้เชื่อกันเช่นนั้นแล้ว จึงไม่้ใช้รูป ている แต่การใช้รูป た ก็ไม่ถูก เนื่องจากรูป た จะให้ความรู้สึกว่าเป็นการกระทำที่กินเวลาสั้น ไม่นาน แต่ความเชื่อเป็นสิ่งที่สืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาหนึ่งที่ยาวนานพอสมควร จึงควรใช้รูป ていた ที่บอกถึงสภาพในอดีตที่กินเวลาพอสมควรมากกว่า < 信じられていた>

 一般的通念や常識について述べる場合、タイ語では主語なしで「V-kan waa」という表現が
用いられる。ここで動詞 V としては「思う、言う、信ずる」など心の働きを表すものが用いら
れ、「思う、言う、信ずる」内容は「waa」以下に示される。また「kan」は「互いに~しあ
う」というような意味をもつ語である。従って、全体で「互いに思いあう/言いあう/信じあ
う」というような意味になる。これに対応する自然な日本語表現は、「思われている/言われ
ている/信じられている」というようなものであろう。ここで「ている」が用いられるのは、
実際に思ったり言ったりするのが不特定多数の人々なので、「反復性」の意味が加わるからで
あろう。 

ในกรณีที่กล่าวเกี่ยวกับความคิดที่รู้กันโดยทั่วไปหรือสามัญสำนึก ในภาษาไทยจะละประธานและใช้สำนวน "กริยา+กันว่า..." ในที่นี้ใช้กริยาที่แสดงการเคลื่อนไหวของจิตใจ เช่น 「思う、言う、信ずる」ซึ่งในสำนวนภาษาญี่ปุ่นหากจะต้องการพูดว่้า "กริยา+กันว่า..." อย่างเป็นธรรมชาติ ก็จะใช้รูป ている เนื่องจากเป็นความคิดและการพูดที่ไม่เจาะจงจากคนหลายๆคน และจะเพิ่มความหมายของการซ้ำอีกด้วย

(14) piimay khOOng thay mii wanyut tittOO kan laaywan phuak khon thii OOk pay thamngaan taangthin law nan cUng klapbaan / duay heet nii thanon tangtEE mUangluang con thUng taangcangwat cUng
mak mii parimaan rot naa nEn 
ปีใหม่ของไทยมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน พวกคนที่ออกไปทำงานต่างถิ่นเหล่านั้นจึงกลับบ้าน ด้วยเหตุนี้ถนนตั้งแต่เมืองหลวงจนถึงต่างจังหวัดจึงมักมีปริมาณรถหนาแน่น
タイのお正月はながいあいだ休みますから、その出稼ぎの人達はふるさとに帰ります。 
 それで首都の道から田舎の道まで、車が込んでいます。 หากใช้ 込んでいる จะให้ความรู้สึกถึงสภาพปัจจุบันที่รถแน่นถนน แต่ในบริบทนี้ ผู้พูดต้องการสื่อถึงข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้น ไม่ได้อธิบายสภาพที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้ เลยใช้ <込みます> 

(15) lOOykrathong thii chiangmay mii saam wan / wanrEEk lE wanthii sOOng ca lOOy krathong lek / suan wanthii saam ca mii prakuat krathong
ลอยกระทงที่เชียงใหม่มีสามวัน วันแรกและวันที่สองจะลอยกระทงเล็ก ส่วนวันที่สามจะมีประกวดกระทง
チェンマイのローイクラトンは三日もあります。一日と二日は小さなクラトンが 
流されています。三日はクラトンのコンテストがあって..

一般的な事実を描写するのに、具体的な時間的限定性の継続性「ている」を用いるもの 
 例(14)~(15)は、毎年同じような光景が繰り返される一般的な事実を描写する文であるため、
具体的な時間的限定性の継続性「ている」形よりも「る」形の方がより適切である。

ทั้งๆที่เป็นการอธิบายความจริงทั่วไป แต่ตัวอย่างที่ 14 และ 15 ที่ใช้ ている ที่แสดงความตัวเนื่องของความจำกัดทางเวลาที่เป็นรูปธรรม เนื่องจากเป็นประโยคที่อธิบายความจริงทั่วไปที่มีภาพบรรยากาศเดิมๆเกิดขึ้นทุกปี ดังนั้นรูป る จะเหมาะสมกว่า ている ที่แสดงความตัวเนื่องของความจำกัดทางเวลาที่เป็นรูปธรรม

จากบทความนี้ก็ทำให้เห็นความแตกต่างทางภาษาที่ทำให้ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยเลือกใช้ アスペクト ผิด แต่ความผิดพลาดดังกล่าว หากได้รับการอธิบายเช่นนี้แล้ว ก็จะช่วยแก้ไขทำให้ใช้ถูกต้องต่อไปได้ครับ ในครั้งต่อไปผมจะเอางานเขียนของผมที่เคยใช้ アスペクト ผิดมาให้ดูบ้าง มาลองดูนะครับว่าจะใช้ผิดเหมือนกับตัวอย่างที่เอามาให้ดูหรือไม่ อย่าลืมติดตามนะครับ

アスペクト2

มาดูกันต่อนะครับว่า แต่ละ アスペクト เนี่ย มีความหมายหรือใช้กันในกรณีไหนบ้าง

จาก http://nihon5ch.net/contents/ch5/kosatsu/20.html เขาได้บอกวิธีการเลือกใช้ アスペクト ไว้ดังนี้ครับ

「~ている」の捉え方
 アスペクトを表わす形式の一つで、 ある時点においてその事象が<幅>をもって展開している最中であることを表わす
 イメージ (=====)[進行中](======)

~ている เป็น アスペクト หนึ่งที่แสดงถึงการกระทำที่อยู่ระหว่างช่วงที่กำลังทำอยู่
จากภาพก็คือ อยู่ตรงกลางระหว่างการกระำทำ การกระทำนั้นกำลังมุ่งหน้า เดินหน้าต่อไป


「~ている」と「~ていた」

(1)<過去>のテンスの顕在化
   過去のある時点である事象が進行中だった
   ※その展開が発話時からみて<過去のこと>であると解釈する
    
        [過去の時点]       [発話時]
          ↓           ↓
   (======)[進行中](=======)   
         <過去>
         『山田さんは<その時>何をしていたの?』
         『山田さんは<その時>本を読んでいたよ』

การทำให้เป็น テンス อดีต
เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในจุดเวลาหนึ่งในอดีต
เมื่อมองจากช่วงเวลาที่พูด เหตุการณ์นั้นก็จะเป็นเรื่องในอดีต ก็จะใช้รูป ~ていた


(2)<非過去:現在>のテンスの顕在化
   今の時点である事象が進行中である
   ※その展開が今現在展開中であると解釈する
   
         [発話時]
          ↓      
          *
   (======)[進行中](======)
         <非過去:現在>
         『山田さんは<今>何をしているの?』
         『山田さんは<今>本を読んでいるよ』

การทำให้เป็น テンス ไม่อดีต แบบปัจจุบัน
เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้ ใช้ ~ている

(3)<非過去:未来>のテンスの顕在化
   未来の時点である事象が進行中である
   ※その展開が発話時より後に展開すると解釈する
         [発話時]        [未来の時点]
          ↓            ↓    
          *     (======)[進行中](=======)
                     <非過去:未来>
                 『山田さんは<明日の今頃>何をしているかな?』
                 『山田さんは<明日の今頃>本を読んでいるでしょう』

การทำให้เป็น テンス ไม่อดีต แบบอนาคต
เหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในจุดเวลาในอนาคต เหตุการณ์นั้นจะเกิดหลังจากเวลาที่พูด ซึ่งใช้ ~ている เช่นกัน

ส่วน http://www.koryu.or.jp/taipei/ez3_contents.nsf/15aef977a6d6761f49256de4002084ae/d6adae25e970b458492579df0029e9a6/$FILE/KobayashiPowerPoint.pdf ก็อธิบายเรื่อง テンス・アスペクト ดังนี้

Part 1. 超時間 vs 現在 สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยเวลา (เป็นจริงเสมอ) กับ ปัจจุบัน
(1) 平地で水は100度で沸騰する。ในที่ราบ น้ำจะเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศา
(2) 「あっ、お湯が沸騰している。 火を止めなきゃ。น้ำี้ร้อนกำลังเดือด ต้องดับไฟ
(3) 朝、1時間犬と散歩をします。それから、朝食を食べて、仕事に行きます。これが日課です。(日課の項目を列挙)
ตอนเช้า จะเดินเล่นกับสุนัข 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็จะกินข้าวเช้าและออกไปทำงาน นี่เป็นกิจวัตรประจำวัน (เป็นการพูดถึงกิจวัตรเป็นข้อๆ)
(4) 朝、1時間犬と散歩をしています。とても気分がよくなります。(現在の時間と関係付けて現実的)
ตอนเช้า จะเดินเล่นกับสุนัข 1 ชั่วโมง และก็จะรู้สึกดีมาก (เป็นความจริงที่มีความสัมพันธ์กับเวลาในปัจจุบัน) กล่าวคือ การเดินเล่นกับสุนัข มีผลต่อการทำให้รู้สึกดี

Part 2. 現在起こっていること เรื่องที่กำลังเกิดในปัจจุบัน 現在の状態 สภาำพปัจจุบัน ใช้「ている}
(1) 雨が降っている。ฝน (กำลัง) ตก
(2) 子供が遊んでいる。 เด็ก (กำลัง) เล่น
(3 )お金が落ちている。เงินตก (สภาพเงินที่ตกอยู่)
(4) 彼はこどもの時に大病をしている。เขาสมัยเป็นเด็กๆป่วยเป็นโรคร้ายแรง
(5)結婚している。 แต่งงานแล้ว (มีสภาพสมรส ไม่โสด)

「~た」と「~ている」
(1)  これ、壊れました。อันนี้พังแล้ว (มักพูดเมื่อเริ่มพัง)
(2)  これ、壊れています。อันนี้พังแล้ว (พูดเพื่อบอกสภาพว่ามันพัง หลังจากที่มันพังมาแล้ว)

Part 2. 現在の状態 สภาพปัจจุบัน
「る」(状態を示す動詞)กริยาแสดงสภาพต่อไปนี้ ใช้ 「る」
ある、 いる、可能形、~たい、~すぎる、思う、感心する、思われる、感じられる、見える、聞こえる、(匂い/音)がする等

Part 3. 未来に起こること เรื่องที่จะเกิดในอนาคต
「る」(未来を示す動詞)กริยาืัที่แสดงอนาคตใช้ る
A 参加します。
B 参加しようと思います。
C 参加するつもりです。
D 参加するかもしれません。

Part 4. 過去のこと เรื่องอดีต
「た」「ていた」
A 徹夜で、原稿を書いた。              (เมื่อคืน) อดนอนเขียนต้นฉบับ
B 徹夜で、原稿を書いていた。       อดนอนเขียนต้นฉบับ (ทั้งคืนเลย)
ていた จะให้ความรู้สึกถึงระยะเวลาในการกระทำที่ยาวกว่า 
ส่วน た จะเป็นเพียงการบอกเล่าเหตุการณ์ในอดีต

นอกจากนี้ในเว็บยังได้มีแผนภูมิสรุปคร่าวๆให้ดังต่อไปนี้
超時間 สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยเวลา (เป็นจริงเสมอ) ใช้ る
過去 อดีตใช้ た กับ ていた
現在 ปัจจุบัน
   進行 กำลังเดินอยู่ใช้ ている
    状態 บอกสภาพใช้ る
   発見・想起 การค้นพบหรือคิดย้อนกลับไปในอดีตใช้ た
   結果状態 สภาพของผลลัพธ์ใช้ ている
   歴史 ประวัติศาสตร์ก็ใช้ ている
未来 อนาคตใช้ る กับ ている

และจาก http://www.kyorin-u.ac.jp/univ/user/foreign/nikodebu/lectures(PDF)/4-2.pdf ก็แสดงการใช้ アスペクト ต่างๆในการอธิบายการตกของหินจากหน้าผา ซึ่งผมคิดว่าน่าสนใจมาก

あっ、岩が落ちる!     直近未来・開始 พูดตอนที่มองเห็นว่าหินทำท่ากำลังจะตก  (อนาคตที่กำลังจะเกิด การเริ่มต้น)
あっ、落ちた!       直近過去・開始    มันตกลงมาแล้ว  (อดีตที่เพิ่งเกิด การเริ่มต้น)
落ちている               現在・進行中        มันกำลังตกอยู่ (กำลังดิ่งลงพื้น) (ปัจจุบันที่กำลังดำเนินอยู่)
落ちる、落ちる!      現在・出来事        บรรยายเหตุการณ์ว่ามันตก (ปัจจุบัน เรื่องราว)
落ちた!         直近過去・完了    มันตกลงมาถึงพื้นแล้ว (อดีตที่เพิ่งเกิด การสิ้นสุด)
落ちている                現在・結果状態継続中  มันตกอยู่ที่พื้น (ปัจจุบัน สภาพของผลลัพธ์ที่แสดงอย่างต่อเนื่อง)

หวังว่าโพสต์ครั้งนี้จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นภาพความแตกต่างระหว่าง アスペクト แต่ละตัวมากยิ่งขึ้นนะครับ แต่เรื่องของ アスペクト ยังไม่จบแค่นี้แน่นอนครับ โปรดติดตามต่อไปนะครับ =)

テンスとアスペクト

สวัสดีครับคุณผู้อ่าน หลังจากที่ผมได้อัพ task ต่างๆที่ได้ลองทำในห้องเรียนครบแล้ว ก็มาถึงส่วนสำคัญของบล็อกนี้แล้วนะครับ นั่นก็คือหัวข้อเป้าหมายในการศึกษาของผม ซึ่งก็คือเรื่อง "アスペクト" นั่นเอง

โดยในบทความแรกนี้ผมจะขออธิบายความแตกต่างระหว่าง テンス (กาล) กับ アスペクト ก่อนนะครับ
ตาม http://ocw.nagoya-u.jp/files/144/le1.pdf ได้ให้ความหมายคำว่า テンス และ アスペクト ดังนี้

1.「テンス」
→ある文によって描かれる事態が、それを発話する時点での事態であるか、それより以前の事態であるか(あるいはそれ以降の事態か)ということが、述語の形態に規則的に反映することを一般にテンス(時制)と言う。

การสะท้อนสถานการณ์ที่เขียนในแต่ละประโยค สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ จุดเวลาที่พูด สถานการณ์ที่เกิดก่อน หรือหลังจากนั้นในรูปแบบของภาคแสดงตามกฎ โดยทั่วไปเรียกว่า テンス (กาล)

2.「アスペクト」 
→動きと状態の重要な違いは、状態が固定的・等質的であるのに対して、動きはその内部 が変動的で、変化の様相が認められることである。動きは、開始、継続、終結、等の局面(段階)を問題にすることができる。こうした、動きの展開の様々な局面(段階)を表す文法形式をアスペクトと言う。 

ความแตกต่างสำคัญระหว่างการเคลื่อนไหวและสถานการณ์คือ สถานการณ์คือสิ่งที่อยู่กับที่ และไปในทางเดียวกัน ส่วนการเคลื่อนไหวคือ การยอมรับด้านที่มีการเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนไหวอาจมีปัญหาในด้านของการเริ่มต้น การดำเนินต่อเนื่อง และการสิ้นสุด พอเป็นเช่้นนั้น จึงเรียกรูปแบบไวยากรณ์ที่แสดงถึงสภาพต่างๆของการเคลื่อนไหวว่า アスペクト

นอกจากนี้ยังมีตารางสรุปเรื่อง テンス กับ アスペクト ดังนี้

  アスペクト  完成相   継続相
テンス
非過去形    する    している
過去形     した    していた

จากตารางนี้ จะเห็นว่ามีการแบ่ง テンス ออกเป็น 2 ประเภทคือ รูปไม่อดีต (非過去形) และรูปอดีต (過去形) ส่วน アスペクト ก็แบ่งออกเป็น 2 ประเภทเช่นกันได้แก่ สภาพที่สมบูรณ์ (完成相) และสภาพที่กำลังทำต่อเนื่อง (継続相) ดังนั้น する จึงเป็นรูปที่แสดงถึงความไม่เป็นอดีตที่สมบูรณ์ ส่วน している เป็นรูปที่แสดงถึงความไม่เป็นอดีตที่กำลังทำต่อเนื่อง した เป็นรูปอดีตที่สมบูรณ์ และ していた เป็นรูปอดีตที่ต่อเืนื่อง

แต่นอกจาก ている・ていた ก็ยังมีรูป アスペクト อื่นๆ ดังนี้
ก่อนเริ่มต้นเดี๋ยวเดียว:~るところだ。
เริ่มต้น:~はじめる。~だす。
ความก้าวหน้า ความคืบหน้า:~ている。~つづける。
การหยุดชะงัก:立ちかけた時。
การเสร็จสมบูรณ์ ผลลััพธ์:~たばかりだ。~てある。~てしまった。
การเปลีี่ยนแปลง:~ていく。~てくる。

ดังนั้นจึงกล่าวสรุปได้ว่า テンス คือรูปกริยาที่ดูจากเวลาเป็นตัวตั้งว่าเป็นอดีตหรือไม่อดีต ส่วน アスペクト จะเป็นส่วนที่บอกการเคลื่อนไหวของกริยานั้นเพื่อสร้างรายละเอียดที่มากขึ้น เป็นการแสดงถึงมุมมองของผู้พูดที่มีต่อการกระทำนั้นๆ

แล้วมาดูกันต่อในบทความต่อไปนะครับว่า มีหลักในการเลือกใช้ アスペクト แต่ละตัวยังไงบ้าง ห้ามพลาดนะครับ