วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

アスペクト4

ต่อไปเรามาลองดูสำนวน アスペクト ที่ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยใช้กันนะครับ ข้อมูลจาก http://jpforlife.jp/pdf/pr_01-16_thas1.pdf ครับ

タイ人日本語学習者のアスペクト表現

(1)patcubannii aayu chalia khOOng khon thii suup burii tamlong
ปัจจุบันนี้อายุเฉลี่ยของคนที่สูบบุหรี่ต่ำลง
最近たばこを吸う人の平均年齢が下がります。 เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องปัจจุบัน เลยใช้รูปไม่อดีต แต่ที่ถูกต้องแล้วจะต้องใ้ช้ <下がりました/下がっています> เนื่องจากกริยา ต่ำลง 下がる เป็นกริยาแสดงการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเมื่อจะบอกว่าบางสิ่งกำลังต่ำลง ต้องใช้รูปอดีต (ต่ำลงแล้ว) หรือ ている เพื่อแสดงสภาพ

(2) tEEkOOn khon numsaaw ca suup burii kOO phUa hay pen phuuyay
phuuchaay kOO ca suup phUa khlaay khwaam khriat lang lAAk ngaan 
suan phuuying kOO ca suup phUa yUUnyan khwaam samAAphaak khOOng phuuchaay phuuying
แต่ก่อนคนหนุ่มสาวจะสูบบุหรี่ก็เพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ ผู้ชายก็ขะสูบเพื่อคลายความเครียดหลังเลิกงาน ส่วนผู้หญิงก็จะสูบเพื่อยืนยันความเสมอภาพของผู้ชายผู้หญิง
以前は大人の証明として、たばこを吸い、男性は仕事を終えた後の緊張をゆるめ、女性は喫煙によって男女平等を確認する。 
เนื่องจากเป็นเรื่องในอดีต เลยควรจะต้องใช้เป็นรูปอดีต เช่น <主張した/主張していた> มากกว่า
(3)nay samaykOOn suanmaak lEEw phOOmEE ca pen phuu thii catkaan rUang kaan tEngngaan
ในสมัยก่อนส่วนมากแล้วพ่อแม่จะเป็นผู้ที่คัดค้านเรื่องการแต่งงาน
、たいてい両親は結婚式を経営する。
เช่นเดียวกับข้อที่แล้ว เนื่องจากเป็นเรื่องในอดีต จึงควรใช้เป็นรูปอดีต <取り仕切った/取り仕切っていた> 
(4)patcuban khon suupburii lE khon thii siachiiwit nUangcaak kaan suup burii mii maak khUn rUayrUay
ปัจจุบันคนสูบบุหรี่และคนที่เสียชีวิตเนื่องจากการสูบบุหรี่มีมากขึ้นเรื่อยๆ
現在、たばこを吸う人とたばこを吸うことで死んでいる人はだん々増えてきます。 
เช่นเดียวกับข้อ 1 กริยา มากขึ้น 増える เป็นกริยาแสดงการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเมื่อจะบอกว่าบางสิ่งกำลังเพิ่มขึ้น ต้องใช้รูปอดีต (เพิ่มขึ้นแล้ว) หรือ ている เพื่อแสดงสภาพ เป็น < 増えてきている/増えてきた> 

(5)nOOkcaaknan nay samaykOOn naywannii yang pen wan thii numsaaw natphop kan
นอกจากนั้นในสมัยก่อนในวันนี้ยังเป็นวันที่หนุ่มสาวนัดพบกัน
また、はこの日も男は女と合って約束をします。 เช่นเดียวกับข้อ 2 และ 3 เนื่องจากเป็นเรื่องในอดีต เลยควรจะต้องใช้เป็นรูปอดีต <デートをした> 

 例(1)~(5)を見てわかるように、設定時点が現在でも過去でも、タイ人学習者は「る」形を
使用する。日本語では「る」形が「現在」の意味の他に「未来」の意味を持っていることと、
「完成性」と「継続性」のアスペクト的対立があることと、形式による「未来」と「過去」の
テンス的対立があることに対する学習者の認識が不十分であったようである。タイ語は日本語
のように形態的形式が鮮明に現れていないからであろう。

สิ่งที่สะท้อนจากตัวอย่าง 1 - 5 คือไม่ว่าจะเป็นเวลาปัจจุบันหรืออดีต ผู้เรียนชาวไทยมักจะใช้รูป る เลยดูเหมือนว่าคนไทยจะมีการรับรู้เรื่องรูป る ที่มีความหมายทั้งในปัจจุบันและอนาคต ความขัดแย้งทาง アスペクト ระหว่าง การเสร็จสมบูรณ์ กับ การกระทำอย่างต่อเนื่อง ความขัดแย้งทาง テンス อนาคตและอดีตที่ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะภาษาไทยไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน
  
(6)patcuban kaan suup burii klaay pen fEEchan
ปัจจุบันการสูบบุหรี่กลายเป็นแฟชั่น
また、たばこを吸うのは流行になります。 ผิดตรงที่ หากใช้ なる จะให้ความหมายว่าจะเป็น (ตอนนี้ยังไม่เป็น) ดังนั้นหากต้องการบอกสภาพปัจจุบันจึงควรใช้รูป ている เป็น  <流行になっています> 

(7)panhaa burii mayday kAAt khEE thii yiipun tEE kAAtkhUn thualook
ปัญหาบุหรี่ไม่ได้เกิดแค่ที่ญี่ปุ่นแต่เกิดขึ้นทั่วโลก
たばこの問題は日本だけでなく、世界中も起こります。เช่นเดียวกับข้อที่แล้ว 起こる
 แปลว่า จะเกิดขึ้น (ยังไม่เกิดขึ้น) ดังนั้นหากต้องการบอกสภาพปัจจุบันจึงควรใช้รูป ている เป็น <起こっています> 

(8)chen kaan thii plian pay chay watsadu thii mayday tham caak thammachaat
เช่นการที่เปลี่ยนไปใช้วัสดุที่ไม่ได้ทำจากธรรมชาติ
例えば、クラトンは自然から作らないものを替わります。หากใช้ 替わる จะมีความหมายว่า จะเปลี่ยน (ยังไม่ได้เปลี่ยน) ซึ่งเมื่อดูจากบริบทแล้ว ใจความต้องการสื่อว่าในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้...แล้ว และเนื่องจาก 替わる เป็นกริยาที่แสดงการเปลี่ยนแปลง ก็จะสามารถใช้ได้สองแบบคือ ใช้ た เพื่อบอกว่ามันได้เปลี่ยนไปแล้วกับ ている เพื่อบอกว่ามันเปลี่ยนมาแล้วและยังคงเป็นอย่างนั้นอยู่ <替わりました/替わっています>  

 例(6)~(8)においても、やはり動詞の「る」や「ます」形が使われている。日本語では、
これらの動詞は語彙的意味として変化動詞であるが、実現の変化状態まで含めていない。実現
した変化状態を表すには、「ている」形に変える必要がある。しかし、タイ語では変化動詞は
動詞の原形のままで、または VV 形式で変化した状態を表すことができる。

ในตัวอย่างที่ 6-8 รูป る หรือ ます ก็ถูกใช้อย่างที่คิด ในภาษาญี่ปุ่น คำกริยาเหล่านี้ (พวกรูป る หรือ ます) ในทางความหมายจะเป็นกริยาที่แสดงการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ใช่การบอกสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริง หากจะบอกสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริง จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนเป็นรูป ている แต่ในภาษาไทยสามารถใช้กริยาที่แสดงการเปลี่ยนแปลงทั้งๆอย่างนั้น อีกทั้งยังใช้กริยาเรียงต่อกันเพื่อแสดงสภาพที่เปลี่ยนแปลง 

(9)tua dichan eeng tOOn yuu pii nUng kOO khAAy ruamngaan rapnOOng mUankan dangnan cUng saap  pen yaang dii waa khwaam ruusUk tOOn thii khaw ruam pen yaangray lE ngaannii mii khwaam  samkhan maak phiangday
ตัวดิฉันเองตอนอยู่ปีหนึ่งก็เคยร่วมงานรับน้องเหมือนกัน ดังนั้นจึงทราบเป็นอย่างดีว่าความรู้สึกตอนที่เข้าร่วมเป็นอย่างไร และงานนี้มีความสำคัญมากเพียงใด
私も一年生の時、ラップノーンに参加したことがありますから、どんな気持ちになったか、どんなに大事なことかをよく分かりました。 
例(9)では「分かる」という動詞は「た」形で用いられるが、話者は発話時点において「わか
らない状態」から「わかる状態」に変化したという意味を伝えたいのではなく、発話時点の前、
つまり過去の時点において「わかった」状態に変化し、今もその状態が続いているということ
を伝えたいのである。その場合、日本語では「た」形ではなく、「ている」形を用いるべきで
ある。

ในตัวอย่างที่ 9 กริยา 分かる ถูกใช้ด้วยรูป た แต่ผู้พูดไม่ได้ต้องการจะสื่อว่าในขณะที่พูดอยู่นั้นได้เปลี่ยนจากสภาพไม่ทราบเป็นทราบ แต่ต้องการจะสื่อว่าได้ทราบไปแล้วในจุดเวลาในอดีตซึ่งก็คือก่อนจุดเวลาที่พูด และต้องการสื่อว่าสภาพเข้าใจนั้นก็ยังคงดำเนินมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน ในกรณีดังกล่าว ภาษาญี่ปุ่นจะไม่ใช้รูป た แต่ควรจะใช้รูป ている เป็น <分かっている>

(10) kaan thii dek yaak lOOng suup burii nan chan khit waa may khUn yuu kap itthiphon caak thoorathat thammay na rUU kOO phrO waa chan eeng kOO khAAy mii prasopkaan maa kOOn
การที่เด็กอยากลองสูบบุหรี่นั้นฉันคิดว่าไม่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลจากโทรทัศน์ ทำไมน่ะเหรอ ก็เพราะว่าฉันเองก็เคยมีประสบการณ์มาก่อน
子供がたばこを吸ってみたいのはテレビの影響によるとは言えません。なぜなら、 自分も体験しましたからです。

例(10)でも「た」形が用いられている。タイ語訳では、「自分の体験に基づいて考えると、テ
レビの影響により子供がタバコを吸いたくなるということではない」という内容を伝えたかっ
たわけである。日本語では、このように「た」形を用いると、過去の時点に限定した体験とし
て動作・変化が起きたという意味にしかとれない。「昔の体験」が現在においても記憶として
残っているという意味を表すには「ている」形を使わなければならない。

ในตัวอย่างที่ 10 ก็ใช้รูป たเช่นกัน ในการแปลเป็นภาษาไทย ก็คงจะต้องการสื่อความว่า เมื่อคิดจากประสบการณ์ของตัวเองเป็นพื้นฐาน อิทธิพลจากโทรทัศน์ไม่ได้ทำให้เด็กอยากสูบบุหรี่ ส่วนในภาษาญี่ปุ่น หากใช้ た จะเป็นประสบการณ์ที่จำกัดในจุดเวลาในอดีต จะมีความหมายเพียงแค่การกระทำหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หากจะสื่อความหมายว่า ประสบการณ์ในอดีตที่ปัจจุบันก็ยังคงจำได้ หลงเหลืออยู่ในความทรงจำ ต้องใช้เป็นรูป ている เป็น <体験している>

 これらの誤用例から、動詞の性質と「パーフェクト性」の「ている」の用法がまだ正確に
捉えられていない学習者がいることが伺える。

จากตัวอย่างที่ผิดเหล่านี้ ทำให้ทราบว่ายังมีผู้เรียนที่ไม่สามารถจับลักษณะของคำกริยาและหลักการใช้ ている ในความเป็น Perfect ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

(11) prapheenii nii chUa kan waa rap maa caak india
ประเพณีนี้เชื่อกันว่ารับมาจากอินเดีย
この行事はインドの文化をもらって信じられます。 เนื่องจากเป็นความเชื่อที่มีอยู่ในสังคม จึงควรใช้รูป ている เพื่อบอกสภาพ มากกว่าการใช้รูป る ที่จะแสดงถึงการกระทำที่ยังไม่เกิด <信じられている> 

(12) klaaw kan waa mii maa tangtEE samay sukhoothay lEEw
กล่าวกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว
スコータイ時代からあると言われました。 ถึงแม้จะเป็นคำพูดที่พูดถึงเรื่องราวที่มีมาแต่อดีต แต่คำพูดดังกล่าวก็ยังคงถูกพูดสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน จึงไม่ใช้รูป た และควรใช้เป็นรูป ている เพื่อบอกสภาพเป็น <言われている> 

(13) nay samaykOOn mii khwaam chUa kan waa thaa may saat naam kan lEEw pii nan naam ca khaat  khlEEn
ในสมัยก่อน มีความเชื่อกันว่า ถ้าไม่สาดน้ำกันแล้ว ปีนั้นน้ำจะขาดแคลน
ところで、昔、人々がお互いに水をかけなかったら、その年は水飢饉になると信じられました。 ข้อนี้จะแตกต่างจากข้อที่แล้วตรงที่ความเชื่อดังกล่าวเป็นความเชื่อในอดีต ซึ่งปัจจุบันไม่ได้เชื่อกันเช่นนั้นแล้ว จึงไม่้ใช้รูป ている แต่การใช้รูป た ก็ไม่ถูก เนื่องจากรูป た จะให้ความรู้สึกว่าเป็นการกระทำที่กินเวลาสั้น ไม่นาน แต่ความเชื่อเป็นสิ่งที่สืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาหนึ่งที่ยาวนานพอสมควร จึงควรใช้รูป ていた ที่บอกถึงสภาพในอดีตที่กินเวลาพอสมควรมากกว่า < 信じられていた>

 一般的通念や常識について述べる場合、タイ語では主語なしで「V-kan waa」という表現が
用いられる。ここで動詞 V としては「思う、言う、信ずる」など心の働きを表すものが用いら
れ、「思う、言う、信ずる」内容は「waa」以下に示される。また「kan」は「互いに~しあ
う」というような意味をもつ語である。従って、全体で「互いに思いあう/言いあう/信じあ
う」というような意味になる。これに対応する自然な日本語表現は、「思われている/言われ
ている/信じられている」というようなものであろう。ここで「ている」が用いられるのは、
実際に思ったり言ったりするのが不特定多数の人々なので、「反復性」の意味が加わるからで
あろう。 

ในกรณีที่กล่าวเกี่ยวกับความคิดที่รู้กันโดยทั่วไปหรือสามัญสำนึก ในภาษาไทยจะละประธานและใช้สำนวน "กริยา+กันว่า..." ในที่นี้ใช้กริยาที่แสดงการเคลื่อนไหวของจิตใจ เช่น 「思う、言う、信ずる」ซึ่งในสำนวนภาษาญี่ปุ่นหากจะต้องการพูดว่้า "กริยา+กันว่า..." อย่างเป็นธรรมชาติ ก็จะใช้รูป ている เนื่องจากเป็นความคิดและการพูดที่ไม่เจาะจงจากคนหลายๆคน และจะเพิ่มความหมายของการซ้ำอีกด้วย

(14) piimay khOOng thay mii wanyut tittOO kan laaywan phuak khon thii OOk pay thamngaan taangthin law nan cUng klapbaan / duay heet nii thanon tangtEE mUangluang con thUng taangcangwat cUng
mak mii parimaan rot naa nEn 
ปีใหม่ของไทยมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน พวกคนที่ออกไปทำงานต่างถิ่นเหล่านั้นจึงกลับบ้าน ด้วยเหตุนี้ถนนตั้งแต่เมืองหลวงจนถึงต่างจังหวัดจึงมักมีปริมาณรถหนาแน่น
タイのお正月はながいあいだ休みますから、その出稼ぎの人達はふるさとに帰ります。 
 それで首都の道から田舎の道まで、車が込んでいます。 หากใช้ 込んでいる จะให้ความรู้สึกถึงสภาพปัจจุบันที่รถแน่นถนน แต่ในบริบทนี้ ผู้พูดต้องการสื่อถึงข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้น ไม่ได้อธิบายสภาพที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้ เลยใช้ <込みます> 

(15) lOOykrathong thii chiangmay mii saam wan / wanrEEk lE wanthii sOOng ca lOOy krathong lek / suan wanthii saam ca mii prakuat krathong
ลอยกระทงที่เชียงใหม่มีสามวัน วันแรกและวันที่สองจะลอยกระทงเล็ก ส่วนวันที่สามจะมีประกวดกระทง
チェンマイのローイクラトンは三日もあります。一日と二日は小さなクラトンが 
流されています。三日はクラトンのコンテストがあって..

一般的な事実を描写するのに、具体的な時間的限定性の継続性「ている」を用いるもの 
 例(14)~(15)は、毎年同じような光景が繰り返される一般的な事実を描写する文であるため、
具体的な時間的限定性の継続性「ている」形よりも「る」形の方がより適切である。

ทั้งๆที่เป็นการอธิบายความจริงทั่วไป แต่ตัวอย่างที่ 14 และ 15 ที่ใช้ ている ที่แสดงความตัวเนื่องของความจำกัดทางเวลาที่เป็นรูปธรรม เนื่องจากเป็นประโยคที่อธิบายความจริงทั่วไปที่มีภาพบรรยากาศเดิมๆเกิดขึ้นทุกปี ดังนั้นรูป る จะเหมาะสมกว่า ている ที่แสดงความตัวเนื่องของความจำกัดทางเวลาที่เป็นรูปธรรม

จากบทความนี้ก็ทำให้เห็นความแตกต่างทางภาษาที่ทำให้ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยเลือกใช้ アスペクト ผิด แต่ความผิดพลาดดังกล่าว หากได้รับการอธิบายเช่นนี้แล้ว ก็จะช่วยแก้ไขทำให้ใช้ถูกต้องต่อไปได้ครับ ในครั้งต่อไปผมจะเอางานเขียนของผมที่เคยใช้ アスペクト ผิดมาให้ดูบ้าง มาลองดูนะครับว่าจะใช้ผิดเหมือนกับตัวอย่างที่เอามาให้ดูหรือไม่ อย่าลืมติดตามนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น