วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

テンスとアスペクト

สวัสดีครับคุณผู้อ่าน หลังจากที่ผมได้อัพ task ต่างๆที่ได้ลองทำในห้องเรียนครบแล้ว ก็มาถึงส่วนสำคัญของบล็อกนี้แล้วนะครับ นั่นก็คือหัวข้อเป้าหมายในการศึกษาของผม ซึ่งก็คือเรื่อง "アスペクト" นั่นเอง

โดยในบทความแรกนี้ผมจะขออธิบายความแตกต่างระหว่าง テンス (กาล) กับ アスペクト ก่อนนะครับ
ตาม http://ocw.nagoya-u.jp/files/144/le1.pdf ได้ให้ความหมายคำว่า テンス และ アスペクト ดังนี้

1.「テンス」
→ある文によって描かれる事態が、それを発話する時点での事態であるか、それより以前の事態であるか(あるいはそれ以降の事態か)ということが、述語の形態に規則的に反映することを一般にテンス(時制)と言う。

การสะท้อนสถานการณ์ที่เขียนในแต่ละประโยค สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ จุดเวลาที่พูด สถานการณ์ที่เกิดก่อน หรือหลังจากนั้นในรูปแบบของภาคแสดงตามกฎ โดยทั่วไปเรียกว่า テンス (กาล)

2.「アスペクト」 
→動きと状態の重要な違いは、状態が固定的・等質的であるのに対して、動きはその内部 が変動的で、変化の様相が認められることである。動きは、開始、継続、終結、等の局面(段階)を問題にすることができる。こうした、動きの展開の様々な局面(段階)を表す文法形式をアスペクトと言う。 

ความแตกต่างสำคัญระหว่างการเคลื่อนไหวและสถานการณ์คือ สถานการณ์คือสิ่งที่อยู่กับที่ และไปในทางเดียวกัน ส่วนการเคลื่อนไหวคือ การยอมรับด้านที่มีการเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนไหวอาจมีปัญหาในด้านของการเริ่มต้น การดำเนินต่อเนื่อง และการสิ้นสุด พอเป็นเช่้นนั้น จึงเรียกรูปแบบไวยากรณ์ที่แสดงถึงสภาพต่างๆของการเคลื่อนไหวว่า アスペクト

นอกจากนี้ยังมีตารางสรุปเรื่อง テンス กับ アスペクト ดังนี้

  アスペクト  完成相   継続相
テンス
非過去形    する    している
過去形     した    していた

จากตารางนี้ จะเห็นว่ามีการแบ่ง テンス ออกเป็น 2 ประเภทคือ รูปไม่อดีต (非過去形) และรูปอดีต (過去形) ส่วน アスペクト ก็แบ่งออกเป็น 2 ประเภทเช่นกันได้แก่ สภาพที่สมบูรณ์ (完成相) และสภาพที่กำลังทำต่อเนื่อง (継続相) ดังนั้น する จึงเป็นรูปที่แสดงถึงความไม่เป็นอดีตที่สมบูรณ์ ส่วน している เป็นรูปที่แสดงถึงความไม่เป็นอดีตที่กำลังทำต่อเนื่อง した เป็นรูปอดีตที่สมบูรณ์ และ していた เป็นรูปอดีตที่ต่อเืนื่อง

แต่นอกจาก ている・ていた ก็ยังมีรูป アスペクト อื่นๆ ดังนี้
ก่อนเริ่มต้นเดี๋ยวเดียว:~るところだ。
เริ่มต้น:~はじめる。~だす。
ความก้าวหน้า ความคืบหน้า:~ている。~つづける。
การหยุดชะงัก:立ちかけた時。
การเสร็จสมบูรณ์ ผลลััพธ์:~たばかりだ。~てある。~てしまった。
การเปลีี่ยนแปลง:~ていく。~てくる。

ดังนั้นจึงกล่าวสรุปได้ว่า テンス คือรูปกริยาที่ดูจากเวลาเป็นตัวตั้งว่าเป็นอดีตหรือไม่อดีต ส่วน アスペクト จะเป็นส่วนที่บอกการเคลื่อนไหวของกริยานั้นเพื่อสร้างรายละเอียดที่มากขึ้น เป็นการแสดงถึงมุมมองของผู้พูดที่มีต่อการกระทำนั้นๆ

แล้วมาดูกันต่อในบทความต่อไปนะครับว่า มีหลักในการเลือกใช้ アスペクト แต่ละตัวยังไงบ้าง ห้ามพลาดนะครับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น